Page 7 - ใบความรู้ หน่วย 3
P. 7
4.2 การยืนเพื่อปฏิบัติงานตะไบ ในการยืนตะไบที่เหมาะสมมั่นคง สำหรับผู้ที่ถนัดมือขวา ให้เท้าซ้ายอยู่
หน้า เท้าขวาอยู่หลัง เท้าทั้ง 2 ห่างกัน พอประมาณ เท้าซ้ายทำมุม 30 องศา เท้าขวาเอียงทำมุม 70 องศากับ
ทิศทาง ตะไบ ซึ่งเป็นท่าทางปกติของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องออกแรงไปข้างหน้า
รูปที่ 3.16 แสดงลักษณะการยืนเพื่อปฏิบัติงานตะไบ
(ที่มา สมยศ แก้วประทุมรัสมี . 2545 : 104)
4.3 การเคลื่อนตัวในการตะไบ การตะไบชิ้นงานให้ได้ระดับและขนาดที่ต้องการนั้นจำเป็นอาศัยทักษะใน
การตะไบ รวมทั้งการเคลื่อนตัวในการตะไบเช่นกัน ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการควบคุมอวัยวะของร่างกายให้ถูกต้อง
โดยมีขั้นตอนดังนี้
ู
4.3.1 ยืนเตรียมตัวเพื่อตะไบตามตำแหน่งที่ถกต้อง ทิ้งน้ำหนักตัวลงที่เท้าทั้งสองข้าง จับตะไบให้
ถูกต้อง วางตะไบไว้บนชิ้นงานพร้อมที่จะตะไบ
รูปที่ 3.15 ลักษณะการตะไบ
รูปที่ 3.17 แสดงลักษณะการตะไบจังหวะที่ 1
4.3.2 ออกแรงดันมือด้วยมือขวา ขณะเดียวกันมือซ้ายออกแรงประคองให้ได้ระดับและทิศทาง พร้อม
ทั้งเคลื่อนลำตัวไปข้างหน้า โดยให้ขาขวาตึงเล็กน้อย งอเข่าซ้ายไปตามจังหวะที่เคลื่อนที่
รูปที่ 3.18 แสดงลักษณะการตะไบจังหวะที่ 2
รูปที่ 3.19 แสดงลักษณะการตะไบจังหวะที่ 3