Page 9 - ใบความรู้ หน่วย 3
P. 9

ุ
                   4.4.3  การตะไบไขว้หรือตะไบทแยงมม เป็นการตะไบทแยงมุมโดยเอียงประมาณ 45 องศากับขอบของ
               ชิ้นงาน และมีการสลับการทแยงมุม การตะไบลักษณะนี้เป็นการตะไบเพื่อตรวจสอบความเรียบของชิ้นงาน






                                           รูปที่ 3.23 แสดงลักษณะการตะไบทแยงมุม
                   4.4.4  การตะไบผิวโค้งของชิ้นงาน ผู้ปฏิบัติต้องไปยืนทางด้านข้างของปากกา จับด้ามตะไบกดและลาก
               ไปตามความยาวของงาน โดยลากตัวตะไบเป็นลักษณะโค้งลงตามรัศมีโค้งของงาน








                                            รูปที่ 3.24 แสดงลักษณะการตะไบผิวโค้ง
               5.  การบำรุงรักษาตะไบ

                 5.1  ผู้ปฏิบัติงานตะไบควรเลือกใช้ตะไบให้ถูกต้องเหมาะสมกับความแข็งและความแข็งของผิวงาน
                 5.2  ห้ามนำตะไบไปใช้แทนเครื่องมือ เช่น การเคาะ การงัด เพราะจะทำให้ตะไบแตกหักได้
                 5.3  ก่อนตะไบชิ้นงานควรทำการตะไบเปิดผิวดิบด้วยสันของตะไบ เพื่อชลอการสึกหรอของตะไบ
                                           ั
                 5.4  เมื่อตะไบมีเศษที่ติดบนฟนตะไบ ให้ใช้แปรงปัดตะไบทำความสะอาดตามแนวฟันตะไบ
                 5.5 กรณีเศษที่ติดบนฟันตะไบแบบฝังแน่นให้ใช้แปรงทองเหลืองขัดตะไบทำความสะอาดตามแนวฟันตะไบ







                                                                    ี่
                รูปท 3.25 แสดงลักษณะการขัดตะไบโดยใช้แปรงลวด     รูปท 3.26 แสดงลักษณะการขัดตะไบโดยใช้
                    ี่
                                                                                                แปรงทองเหลือง

                 5.6  ห้ามใช้น้ำมันชโลมที่ตะไบเพราะจะทำให้ลื่นขณะตะไบ
                 5.7  หลังใช้งาน ควรทำความสะอาดและเกบรักษาตะไบให้เข้าที่ถูกต้องและเหมาะสม
                                                      ็
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14