Page 6 - ใบความรู้ หน่วย 3
P. 6
4. เทคนิคการตะไบ
4.1 การจับตะไบ การจับตะไบก็มีความสำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะละเลยเสียไม่ได้ เพราะถ้าหาก
จับตะไบไม่ถูกวิธีแล้ว จะเกิดการเสียดสีระหว่างด้ามตะไบกับฝ่ามือ ทำให้ฝ่ามือพอง ส่งผลให้ไม่สามารถ
ปฏิบัติงานได้ ดังนั้น ผู้ปฏิบัติงานตะไบจะต้องศึกษาวิธีการจับตะไบให้ถูกต้อง
4.1.1 ท่าจับตะไบเบื้องต้น
4.1.1.1 วางด้ามตะไบลงบนฝ่ามือข้างที่ถนัด โดยให้ปลายของด้ามตะไบอยู่ในแนวกึ่งกลางของ
นิ้วหัวแม่มือ
ี่
4.1.1.2 กำด้วยนิ้วทั้งสี่และใช้นิ้วหัวแม่มือกดทด้ามตะไบ
รูปที่ 3.11 ลักษณะการวางมือเพื่อจับตะไบ รูปที่ 3.12 ลักษณะการจับตะไบ
4.1.2 การจับตะไบสำหรับงานหนัก ใช้สำหรับตะไบลดขนาดหรือตะไบผิวหยาบ กำรอบด้ามตะไบด้วย
นิ้วสี่นิ้ว กดด้ามตะไบด้วยนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งเหยียดตรงอยู่ในแนวกึ่งกลางตะไบกดปลายตะไบด้วย
ฝ่ามือซ้าย
ี่
รูปท 3.13 ลักษณะการจับตะไบสำหรับงานหนัก
4.1.3 การจับตะไบสำหรับงานเบา เป็นการตะไบปรับผิวให้ได้ระดับและได้ขนาด โดยมีวิธีการจับ ดังนี้
ี
มือข้างที่ถนัดจับที่ด้ามตะไบปกติ ส่วนมืออกข้างใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่ปลายตะไบนิ้วทั้งสี่จับประคองที่ปลาย
ตะไบส่วนล่าง
รูปที่ 3.14 ลักษณะการจับตะไบสำหรับงานเบา
4.1.4 การจับตะไบตกแต่งผิวชิ้นงาน ใช้สำหรับปรับแต่งผิวให้เรียบและผิวละเอียดสำหรับงานสำเร็จขั้น
สุดท้าย มีวิธีการจับ ดังนี้ มือข้างที่ถนัดจับที่ด้ามตะไบ มืออกข้างให้กางนิ้วออก โดยให้นิ้วหัวแม่มือกดไปที่
ี
กางตะไบ นิ้วทั้งสี่กดไปที่ปลายตะไบ
รูปที่ 3.15 ลักษณะการจับตะไบตกแต่งผิวชิ้นงาน