Page 4 - ใบความรู้ หน่วย 3
P. 4

รูปที่ 3.2 แสดงลักษณะตะไบคมตัดเดี่ยว
                                           (ที่มา : ทรงฤทธิ์  จุลกาญจน์ . 2557 : 121)
                 2.2  คมตัดคู่  (Double cut Files) เป็นตะไบที่มีฟันตัด 2 แนว ตัดขว้างซึ่งกันและกัน โดยฟันตะไบแนว

               แรกจะทำมุม 70-80 องศากับขอบตะไบ ส่วนฟันตะไบอีกแนวหนึ่งจะทำมุม 40-45 องศากับขอบตะไบ
               ลักษณะการตัดขว้างของตะไบทั้ง 2 แนวจะทำให้เกิดเป็นมุมปิรมิดขึ้น ตะไบลายตัดคู่นี้สามารถตัดเฉือนวัสดุ
               งานได้เร็วกว่าตะไบลายตัดเดี่ยวแต่จะให้ความเรียบของผิวงานน้อยกว่าตะไบ







                                                             รูปที่ 3.3 แสดงลักษณะตะไบคมตัดคู่
                                           (ที่มา : ทรงฤทธิ์  จุลกาญจน์ . 2557 : 121)
                 2.3  คมตัดโค้ง (Curved cut Files) เป็นตะไบที่มีลักษณะของฟันตะไบโค้งในแนวขวางกับหน้าตะไบ นิยม

               ใช้ในงานตะไบตัวถังรถยนต์ เนื่องจากลักษณะและช่องว่างระหว่างฟันของตะไบลายโค้งนี้ จะช่วยป้องกันการ
               อุดตันของเศษวัสดุงานได้ดี  ดังนั้นจึงเหมาะที่จะใช้งานตะไบโลหะอ่อน และ พลาสติก








                                             รูปที่ 3.4 แสดงลักษณะตะไบคมตัดคู่
                                           (ที่มา : ทรงฤทธิ์  จุลกาญจน์ . 2557 : 122)

                 2.4  คมตัดบุ้ง (Rasp cut Files) เป็นตะไบที่มีลักษณะของฟันตะไบไม่ต่อเนื่องกัน มีลักษณะของฟันตะไบ
               เป็นแบบจุด การขึ้นรูปฟันตะไบลายบุ้ง จะอาศัยมีดขุด (PUNCH) ขุดผิวหน้าตะไบขึ้นเป็นคมตัด





                                             รูปที่ 3.5 แสดงลักษณะตะไบคมตัดบุ้ง
               3. ชนิดของตะไบ

                      ตะไบมีรูปร่างและลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้ในการปฏิบัติงานต้องคำนึงถึงลักษณะ
               ของผิวงาน ความแข็งของวัสดุ จากนั้นจึงเลือกชนิดของตะไบ ความยาวตะไบ ลักษณะหน้าตัดให้เหมาะสมกับ
               งานนั้นๆ โดยแบ่งได้ดังนี้
   1   2   3   4   5   6   7   8   9