Page 122 - ความขัดแย้ง การเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ
P. 122
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินท์ทิรา ณ ถลาง, อาจารย์ ร้อยเอก ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ
ขอ้ ตกลงรว่ มกนั คอื Anglo–Irish Agreement ทวา่ ตวั แสดงในทอ้ งถนิ่ ทเ่ี กยี่ วขอ้ งกบั ความขัดแย้งโดยตรงดังเช่นกลุ่ม Unionist และ Nationalist กลับมิได้เข้าร่วมเป็นคู่ เจรจาในกระบวนการสันติภาพแต่อย่างใด24 อย่างไรก็ตาม ความพยายามท่ีจะบรรลุ สันติภาพในไอร์แลนด์เหนือเริ่มประสบผลสําาเร็จในปี 2541 เม่ือรัฐบาลอังกฤษได้จัด กระบวนการเจรจาสนั ตภิ าพแบบมสี ว่ นรว่ มระหวา่ งทกุ ฝา่ ยทมี่ สี ว่ นเกย่ี วขอ้ งกบั ความ ขดั แยง้ ไมว่ า่ จะเปน็ รฐั บาลองั กฤษ รฐั บาลสาธารณรฐั ไอรแ์ ลนดเ์ หนอื ผแู้ ทนจากพรรค Sinn Fein ที่เป็นพรรคการเมืองของกลุ่ม Nationalist ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ กองกําาลัง IRA รวมทั้งผู้แทนทางการเมืองจากกลุ่ม Unionist25 อันนําาไปสู่การลงนาม ในข้อตกลงระหว่างประเทศ (International Agreement) โดยมีรัฐคู่ภาคีคืออังกฤษ และสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ที่มีช่ือว่า Good Friday Agreement หรือ The Belfast Agreement ซงึ่ มตี วั บทกฎหมายทรี่ องรบั การปฏบิ ตั ติ ามขอ้ ตกลงดงั กลา่ วคอื พระราช บญั ญตั ไิ อรแ์ ลนดเ์ หนอื (Northern Ireland Act 1998 หรอื 1998 NIA) อนั เปน็ ความ พยายามยุติการใช้ความรุนแรงและก่อการความไม่สงบของกองกําาลังก่ึงทหารใน ไอร์แลนด์เหนือทั้งหมด26
ข้อตกลง Belfast ได้ต้ังอยู่บนหลักการที่สําาคัญสามประการ ได้แก่ ประการ แรก การแบง่ สรรปนั อาํา นาจ (Power-Sharing) ระหวา่ งหลายฝา่ ยทเี่ กยี่ วขอ้ งในความ ขัดแย้ง เพ่ือเป็นหลักประกันถึงการแบ่งสรรปันอําานาจระหว่างกลุ่ม Nationalist และกลุ่ม Unionist ในรัฐบาลและสภาท้องถ่ิน นอกจากน้ี ยังได้รับรองถึงหลักสิทธิ
24 Arthur Aughey and Cathy Gormley-Heenan, “The Anglo-Irish Agreement: 25 Years On,” The Political Quarterly 82, no. 3, (2011): 392.
25 Chandra Lekha Sriram, Peace as Governance: Power-Sharing, Armed Groups and Contemporary Peace Negotiations (New York: Palgrave Macmillan, 2008)
26 ChristopherMcCrudden,“NorthernIreland,theBelfastAgreement,andtheBritish Constitution,” University of Michigan School of Law Public Law & Legal Theory Research Paper Series Research Paper No. 48, 238.
112