Page 134 - ความขัดแย้ง การเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ
P. 134

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินท์ทิรา ณ ถลาง, อาจารย์ ร้อยเอก ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ
“ชาตินิยม” และ “ชาติ” หมายถึง กลุ่มชนที่มีความแตกต่างกันและรวมตัวกันเป็น ประชากรของ “สาธารณรัฐ” ต่างๆ ที่ประกอบกันเป็น “รัฐ” ยูโกสลาเวีย มิได้หมาย ถึงชาตินิยมยูโกสลาเวีย (Yugoslav nationalism) แต่อย่างใด50
ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งกลมุ่ ชาตพิ นั ธแ์ุ ละสหพนั ธรฐั นยิ มในยโู กสลาเวยี นบั วา่ มคี วามสลบั ซบั ซอ้ นเปน็ อยา่ งยง่ิ เพราะแมว้ า่ จะมคี ณุ ลกั ษณะทค่ี ลา้ ยคลงึ บางประการ กับกรณีของประเทศสังคมนิยมอื่นๆ ดังเช่น สหภาพโซเวียตและเชโกสโลวาเกีย ทว่า ยูโกสลาเวียก็มีแนวทางท่ีแตกต่างของตนเองในการจัดวางรูปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ภายใต้ระบอบสหพันธรัฐสังคมนิยม เนื่องจากเมื่อ ยูโกสลาเวียถูกขับออกจากกลุ่มประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์ในปี 2491 อันเป็นช่วง ระยะแรกในการพัฒนาของกลุ่มประเทศยุโรปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ยโู กสลาเวยี ไดพ้ ฒั นาตวั แบบของรฐั สงั คมนยิ มทแี่ ตกตา่ ง อนั รวมถงึ การจดั การระเบยี บ การปกครองในรูปแบบสหพันธรัฐที่มีลักษณะเฉพาะตัว ในการน้ี รัฐบาลยูโกสลาเวีย ตอ้ งการแสดงใหป้ ระชนชนในประเทศและประชาคมระหวา่ งประเทศตระหนกั ถงึ ความ เป็นสังคมแบบสังคมนิยม (Socialist Society) ที่แท้จริงของยูโกสลาเวีย รวมท้ังการ มีระบบการปกครองที่มีความเป็นธรรม สามารถเป็นหลักประกันถึงความมีอิสรภาพ และเสรีภาพให้แก่พลเรือนทั้งหมด ซ่ึงมีความเหนือกว่าประเทศสังคมนิยมอ่ืนๆ เนื่องจากเหตุผลข้างต้น รัฐบาลยูโกสลาเวียจึงดําาเนินการเปล่ียนแปลงระบบทางการ เมืองและเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับโครงสร้างรัฐธรรมนูญเป็นระยะๆ จากรัฐท่ีรวมศูนย์ อําานาจทางเศรษฐกิจและการเมืองโดยสหพันธ์คอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวีย (League of Communists of Yugoslavia, LCY) ในปี 2488 จึงดําาเนินการกระจายอําานาจใน ระดับมหภาคอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างปี 2488-251751
50 AshleyTownshend,“AnatomyofStateFailure”(Thesis,TheUniversityofSydney, 2007), 55.
51 Sinisa Malesevic, “Ethnicity and Federalism in Communist Yugoslavia and Its Successor States” in Autonomy and Ethnicity: Negotiating Competing Claims in Multi–Ethnic States, ed. Yash Ghai (Cambridge: Cambridge University Press), 149.
 124





























































































   132   133   134   135   136