Page 50 - ความขัดแย้ง การเจรจาและการแบ่งสรรปันอำนาจ
P. 50

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินท์ทิรา ณ ถลาง, อาจารย์ ร้อยเอก ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ
เป็นเพียง “ผู้กระทําาผิดกฎหมาย” (Lawbreaker)25 และมีนัยถึงการให้การยอมรับ จากประชาคมระหว่างประเทศในลักษณะ “กึ่งยอมรับ” (Halfway–House Recog- nition) ต่อข้อเรียกร้องของกลุ่มติดอาวุธ26
หลักการของกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศดังกล่าวได้สร้างความ อ่อนไหวทางการเมืองแก่ฝ่ายรัฐ ซ่ึงมีข้อกังวลว่า การยอมรับสถานะของกลุ่มติดอาวุธ เป็น “คู่สงคราม” ย่อมส่งผลทําาให้กลุ่มติดอาวุธได้รับความชอบธรรมจากประชาคม ระหว่างประเทศในระดับหน่ึง และอาจเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มติดอาวุธได้รับการ สนับสนุนจากฝ่ายท่ีสามจนสามารถแยกตัวออกมาจัดตั้งเป็นรัฐอิสระในภายหลังได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการยอมรับสถานะความเป็น “ผู้ก่อความไม่สงบ” หรือ “คู่ สงคราม” อาจสง่ ผลทาํา ใหก้ ฎหมายระหวา่ งประเทศมผี ลผกู พนั ตอ่ กลมุ่ กอ่ ความไมส่ งบ ในช่วงสงคราม อันเป็นการป้องกันมิให้กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบถูกปฏิบัติในฐานะท่ีเป็น ผู้กระทําาผิดกฎหมายจากรัฐที่เป็นคู่สงครามนั้นๆ ทว่าในแง่หนึ่ง การยอมรับสถานะ ความเป็น “คู่สงคราม” มิได้เป็นการยอมรับและมอบสถานะ “ความเป็นรัฐ” ให้แก่ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบโดยอัตโนมัต2ิ7
การยอมรับในสถานะความเป็นคู่สงครามโดยรัฐบาลกลางที่เป็นคู่สงคราม (รัฐ A) ย่อมหมายความว่า กฎหมายท่ีวางข้อบังคับในการทําาสงคราม (Jus in bello) ของความขัดแย้งท่ีเป็นเรื่องระหว่างประเทศหรือรัฐต่อรัฐได้ถูกประยุกต์ใช้ในการขัด แย้งทางอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ ซ่ึงมิได้มีผลผูกพันตามกฎหมายเฉพาะกับความ สัมพันธ์ระหว่างรัฐ A กับกลุ่มก่อความไม่สงบ แต่ยังมีผลผูกพันกับรัฐอ่ืนๆ (รัฐ B และ รฐั C) ทจี่ ะตอ้ งปฏบิ ตั ติ ามกฎหมายวา่ ดว้ ยความเปน็ กลาง (The Law of Neutrality) กลา่ วคอื รฐั อนื่ ๆ จะไมไ่ ดร้ บั อนญุ าตใหก้ ระทาํา การแทรกแซงโดยใชก้ าํา ลงั ในสถานการณ์
25 Rosalyn Higgins, “International War and International Law” in The Future of International Legal Order. Vol. III: Conflict Management, eds. Cyril E. Black and Richard A. Falk (Princeton, N.J.: Princeton University Press, 1971), 88.
26 Alexis Heraclides, The Self-Determination of Minorities in International Politics (London: Frank Cass, 1991), 20.
27 Higgins, “International War and International Law,” 88.
 40



























































































   48   49   50   51   52