Page 34 - นิราศ อีบุ๊ก
P. 34

นิราศภูเขาทอง                                                                 34







                                   พินิจคุณค่าพิจารณาวรรณคดี

                      ๒


               คุณค่าทางสังคม


                     สุนทรภู่ได้บันทึกเรื่องราววิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนร่วมสมัย ตลอดจนเกร็ดความรู้ที่จะท าให้ผู้อ่านเห็น
              ภาพและเข้าใจสภาพสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เช่น วิถีชีวิตของชาวบ้าน วัฒนธรรม และศิลปะแขนงต่าง ๆ
                     ในสายตาของสุนทรภู่แม้ว่าการด านินชีวิตจะยากล าบาก แต่ไม่อาจปฏิเสธว่าสังคมไทยร่มเย็นและสงบสุข
              ดังจะเห็นได้จากการพรรณนาภาพบ้านเมืองที่มีภูมิประเทศงดงาม ความเป็นธรรมชาติ ทั้งหมดล้วนเป็นภาพสะท้อน
              สังคมที่ปรากฏในนิราศภูเขาทอง มีรายละเอียดดังนี้


                 ๒.๑ บันทึกอัตชีวประวัติของสุนทรภู่

                     นิราศภูเขาทองบทประพันธ์สะท้อนเรื่องราวชีวิตของสุนทรภู่ เช่น

                                   ถึงหน้าวังดังหนึ่งใจจะขาด    คิดถึงบาทบพิตรอดิศร
                            โอ้ผ่านเกล้าเจ้าประคุณของสุนทร      แต่ปางก่อนเคยเฝ้าทุกเช้าเย็น

                                                         ฯลฯ
                                   ถึงหน้าแพแลเห็นเรือที่นั่ง   คิดถึงครั้งก่อนมาน้ าตาไหล
                            เคยหมอบรับกับพระจมื่นไวย            แล้วลงในเรือที่นั่งบัลลังก์ทอง

                            เคยทรงแต่งแปลงบทพจนารถ              เคยรับราชโองการอ่านฉลอง
                            จนกฐินสิ้นแม่น้ าแลล าคลอง          มิได้ข้องเคืองขัดหัทยา

                            เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตรลบ       ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา
                            สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา             วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์
                     บทประพันธ์ข้างต้นสะท้อนให้เห็นสุนทรภู่เคยรับราชการและเป็นข้าทูลละอองธุลีพระบาท

              ใกล้ชิดพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกลาลที่ ๒ สังเกตได้จากการได้เข้าเฝ้าฯ จนได้กลิ่น
              สุคนธ์ และเคยแต่งบทประพันธ์ถวายอีกด้วย

                                   มาถึงบางธรณีทวีโศก           ยามวิโยคยากใจให้สะอื้น
                            โอ้สุธาหนาแน่นเป็นแผ่นพื้น          ถึงสี่หมื่นสองแสนทั้งแดนไตร
                            เมื่อเคราะห์ร้ายกายเราก็เท่านี้      ไม่มีที่พสุธาจะอาศัย

                            ล้วนหนามเหน็บเจ็บแสบคับแคบใจ        เหมือนนกไร้รังเร่อยู่เอกา
                     บทประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงความล าบากของสุนทรภู่ เมื่อรัชกาลที่ ๒ สวรรคตแล้ว ชีวิต

              ของสุนทรภู่ก็ไม่มีที่พึ่งพิงเหมือนกับนกไร้รัง
                                   มาทางท่าหน้าจวนจอมผู้รั้ง    คิดถึงครั้งก่อนมาน้ าตาไหล
                            จะแวะหาถ้าท่านเหมือนเมื่อเป็นไวย    ก็จะได้รับนิมนต์ขึ้นบนจวน

                     บทประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นสถานภาพพระสงฆ์ของสุนทรภู่ในขณะที่แต่งเรื่องนิราศภูเขาทอง
              เพราะใช้ค าว่านิมนต ์
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39