Page 35 - นิราศ อีบุ๊ก
P. 35

นิราศภูเขาทอง                                                                 35






                                   พินิจคุณค่าพิจารณาวรรณคดี


                      ๒

           คุณค่าทางสังคม (ต่อ)



                 ๒.๒ สภาพสังคมและวิถีชีวิต


                     นิราศภูเขาทองสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมแสดงให้เห็นถึงสภาพบ้านเมือง สังคม วัฒนธรรม
             และวิถีชีวิตของผู้คน รวมถึงความหลากหลายของเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวมอญและชาวญวนที่เข้ามาตั้งถิ่น
             ฐานอยู่ริมแม่น้ าเจ้าพระยา ดังนี้

                            ไปพ้นวัดทัศนาริมท่าน้ า             แพประจ าจอดรายเขาขายของ
                     มีแพรผ้าสารพัดสีม่วงตอง                    ทั้งสิ่งของขาวเหลืองเครื่องส าเภา

                            ถึงบ้านญวนล้วนแต่โรงแลสะพรั่ง       มีข้องขังกุ้งปลาไว้ค้าขาย

                     ตรงหน้าโรงโพงพางเขาวางราย                  พวกหญิงชายพร้อมเพรียงมาเมียงมอง

                            ตลาดแก้วแล้วไม่เห็นตลาดตั้ง         สองฟากฝั่งก็แต่ล้วนสวนพฤกษา

                     โอ้รินรินกลิ่นดอกไม้ใกล้คงคา               เหมือนกลิ่นผ้าแพรด ามะเกลือ

                     ถึงแขวงนนท์ชลมารคตลาดขวัญ                  มีพ่วงแพแพรพรรณเขาค้าขาย
                     ทั้งของสวนล้วนแต่เรือเรียงราย              พวกหญิงชายชุมกันทุกวันคืน

                            ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า      ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา

                     เดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา           ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย



                  ๒.๓ ความรู้เกี่ยวกับที่มาสถานท ี่
                   นิราศภูเขาทองยังสอดแทรกเกร็ดความรู้ต่าง ๆ น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานที่

            ต่าง ๆ เช่น ชื่อวัดประโคนปักมีที่มาจากการปักเสาหินไว้บริเวณนี้เพื่อแบ่งเขต สามโคก ได้ชื่อว่าปทุมธานี
            ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานจากรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากมีบัวมาก รวมทั้งเล่าถึงมหรสพตลอดจนการละเล่นต่าง ๆ
            เช่น งานฉลองผ้าป่า การร้องเพลงเกี้ยวแก้กัน การขับเสภา ดังนี้

                           ถึงอารามนามวัดประโคนปัก             ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน
                   เป็นส าคัญปันแดนในแผ่นดิน                   มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา

                           ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า        พระพุทธเจ้าหลวงบ ารุงซึ่งกรุงศรี

                   ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี                 ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว

                           มาจอดท่าหน้าวัดพระเมรุข้าม          ริมอารามเรือเรียงเคียงขนาน

                   บ้างขึ้นล่องร้องล าเล่นส าราญ               ทั้งเพลงการเกี้ยวแก้กันแซ่เซ็ง

                   บ้างฉลองผ้าป่าเสภาขับ                       ระนาดรับรัวคล้ายกับนายเส็ง
                   มีโคมรายแลอร่ามเหมือนส าเพ็ง                เมื่อคราวเคร่งก็มิใคร่จะได้ดู
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40