Page 38 - นิราศ อีบุ๊ก
P. 38
นิราศภูเขาทอง 38
พินิจคุณค่าพิจารณาวรรณคดี
๒
คุณค่าทางสังคม (ต่อ)
ความเข้าใจมนุษย์
สุนทรภู่เปรียบคนพาลว่าเป็นผลมะเดื่อ เพราะคนพาลนั้นมีลักษณะหวานอมขมใน ดังเช่น
ถึงบางเดื่อโอ้มะเดื่อเหลือประหลาด บังเกิดชาติแมลงหวี่มีในไส้
เหมือนคนพาลหวานนอกย่อมขมใน อุปไมยเหมือนมะเดื่อเหลือระอา
ยามสุขเพื่อนมาก ยามยากเพื่อนน้อย
เป็นธรรมดาโลกที่ว่า เมื่อยามมีบุญวาสนาก็มีผู้มานับถือเป็นพี่น้องผองเพื่อน แต่ในยามที่ตกอับก็
กลับท าเป็นไม่รู้จัก เหตุการณ์ดังกล่าวนี้สุนทรภู่ต้องพบเจอด้วยตนเอง ท่านจึงรู้ถึงความจริงข้อนี้ ดังเมื่อท่าน
เดินทางผ่านจวนผู้รั้งซึ่งเคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน ท่านจึงไม่แวะเข้าไปหาเพราะเจียมเนื้อเจียมตัว ดังความว่า
มาทางท่าหน้าจวนจอมผู้รั้ง คิดถึงครั้งก่อนมาน้ าตาไหล
จะแวะหาถ้าท่านเหมือนเมื่อเป็นไวย ก็จะได้รับนิมนต์ขึ้นบนจวน
แต่ยามยากหากว่าถ้าท่านแปลก อกมิแตกเสียหรือเราเขาจะสรวล
ั
เหมือนเข็ญใจใฝ่สูงไม่สมควร จะต้องม้วนหน้ากลับอประมาณ
ความเป็นอนิจจัง
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกยอมเป็นอนิจจัง มีการแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ในชีวิตคนเราก็ย่อมประสบกับ
การเปลี่ยนแปลงแน่นอน ข้อนี้สุนทรภู่ท่านได้ชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของคนเรา ดังเช่น
เมื่อสุนทรภู่ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทอง ท่านได้พบว่าเจดีย์นั้นเก่ามาก ช ารุด ทรุดโทรม มีรอยร้าว
สุนทรภู่จึงน าสภาพนั้นมาเปรียบกับเกียรติยศชื่อเสียงว่าไม่ยั่งยืนเหมือนองค์เจดีย์ นานเข้าก็ต้องเสื่อมสลายไป
เช่นกัน คนมีเงินก็อาจจะกลับกลายเป็นคนจน ส่วนคนจนก็อาจจะกลับกลายเป็นคนรวยได้ ดังความว่า
ทั้งองค์ฐานราญร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก
โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ าตากระเด็น
กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น
พูดดีเป็นศรีแก่ตัว
นิราศภูเขาทองแทรกสุภาษิตส าหรับเตือนใจผู้อ่านเอาไว้หลายเรื่อง และภาษิตนั้นก็เป็นที่
จดจ ากันได้ขึ้นใจของคนไทย เช่น
ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายท าลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา