Page 129 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 129
ง่าย นิพพานคือสบาย นิพพานคือไม่กลับมาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป ตรงนี้แหละเป็นที่ของ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” ก็คือ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง”
ี
ก็คือมันอยู่ง่าย ทุกอย่างมันง่าย ไม่ขึ้นอยู่กับใคร มันอิสระ มันเสร
ิ
“นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” คือ สูญจากจิตที่จะทำให้มัวหมอง ไม่มีอะไรจะทำจตมัวหมองอีก
แล้ว มันจะผ่องใสมันจะเบิกบาน มันจะมีแต่ความง่ายความสุขสบาย อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสอย่าง
นั้น มันจะมีความเย็น ดับความทุกข์ ความเร่าร้อน ความกังวลใจ ความหงุดหงิดใจ ความเสยใจ
ี
ความน้อยใจ พลัดพรากจากโน้น พลัดพรากจากนี้ไปไม่มีอีกแล้ว ท่านว่าอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ที่ว่า
“นิพพานัง ปรมัง สุญญัง” สูญจากญาติพี่น้อง สูญจากสามี สูญจากภรรยา สูญจากทรัพย์สินสมบัติ
สูญจากหน้าที่การงาน
มันเหนือกิเลสทั้งปวง แต่ตอนนี้เรายงไม่ถึงขั้นนั้น เราก็พยายามศึกษาค้นควาหาความสงบให้
ั
้
มันได้ แค่พัฒนาจิตของเราให้มันอย่างนี้ สวดมนต์บ่อย ๆ เดินจงกรมบ่อย ๆ นั่งสมาธิบ่อย ๆ เราก็
ทำของเราไปอย่างนี้ ถ้าทำได้อย่างนี้ทุกวัน ๆ แม้จะไม่ได้ทุกวัน เราก็ทำให้เป็นนิสัย อุปนิสัยบ้าง
“อุปนิสัย” แปลว่าเข้าไปใกล้นิสัย แต่ยังไม่ถึงขั้นนิสัย “อุปปะ” แปลว่าเข้าไป เข้าไปเพื่อจะเป็น
นิสัย เรียกว่าอุปนิสัย ให้มันเข้าไปก่อน เข้าไปหานิสัย ยังไม่ถึงขั้นนิสัย ถ้าถึงขั้นนิสัยแสดงว่าทำได้
ปกติแล้ว เมื่อเป็นนิสัยมาก ๆ ก็เป็นวาสนา ก็คืออยู่ในจิตของเราตลอดไป เป็นสิ่งที่ดีด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายังมีภาระหน้าที่ที่จะต้องทำ เราก็ต้องทำไปเถอะไม่เป็นไป เพราะไม่ใช่ว่า
เราจะบรรลุธรรมในวันนี้หรอก มันก็ต้องอาศัยกาลเวลา แม้แต่พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ต่าง ๆ ก็
บำเพ็ญบารมีมาหลายภพหลายชาติ แล้วก็พลาดพลั้งมาก็มี ไม่ใช่ว่าองค์นั้นองค์นี้ทำอย่างนี้อย่าง
เดียวแล้วไม่เคยพลาดพลั้งเลย เพราะว่าตราบใจที่เรายังมีกิเลสอยู่ ก็จะทำให้จิตของเราตกต่ำเป็น
บางครั้ง สูงเป็นบางคราว แต่อย่างไรก็พยายามรักษาไว้ ถ้ารักษาไว้ได้ดีเท่าไหร่ มันก็เป็นอุปนิสัย ถ้า
เป็นอุปนิสัยเข้าไป ๆ เข้าไปใกล้ ๆ ก็เป็นนิสัย นอนเนื่องอยู่ในจิต พอนอนเนื่องอยู่ในจิตหลายครั้ง ๆ
ก็เป็นวาสนาอยู่ในจิต อุปนิสัยก็กลายเป็นนิสัย
“นิสัย” เป็นวาสนา ก็คืออยู่ในจิตของเราแล้ว พอเป็นวาสนาก็เป็นอริยทรัพย์ที่จะไปกับเรา
ข้ามภพข้ามชาติ ในที่นี้หมายถึงใจ หมายถึงจิต เพราะว่าร่างกายยังไงก็ต้องสลาย เมื่อร่างกายสลาย
่
อะไรพาใจนี้ไป พระพุทธเจ้ากล่าววา สองคนพาไปก็คือ “บาปกับบุญ” เพราะฉะนั้น เราก็เอาบุญไป
บาปเราก็เอาน้อย ๆ หน่อย ถ้าไม่เอาไม่ได้ ไม่เอาได้ยิ่งดี เอาบุญมาก ๆ มันจะเป็นสิ่งที่ทำให้จิตของ
ุ
เราราเริงผ่องใสเบิกบานตลอดไป สาธุ สาธุ สาธุ อนโมทามิ
่
๑๒๙