Page 133 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 133
ธรรมะบรรยาย ๐๕๖
ท่านเจ้าคุณ พระราชปัญญาวชิโรดม
๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔
เจริญพรทุก ๆ ท่าน ช่วงเช้าวันนี้มาพบกับคณะสมาธิสัญจรออนไลน์ วันนี้อากาศดีดี ไม่ร้อน
มาก ดูเหมือนฝนจะตกครึ้ม ๆ เข้ากับบรรยายกาศการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง มองไปทางไหนก็
เหมือนกับท่านทั้งหลายนั่งอยู่ใกล้ เหมือนทุกท่านได้เข้ามาปฏิบัติสมาธิสัญจรที่วัดเทพเจติยาจารย์
เทคโนโลยีทุกวันนี้ทำให้กายใจของเราอยู่ใกล้กัน ใครมีโทรศัพท์ก็มองเห็นหน้ากันได้ แม้กายอยู่ห่าง
กันแต่ใจเราอยู่ใกล้กัน “ใกล้กัน” หมายถึง ใกล้กับพระพุทธเจ้า ใกล้กับพระธรรม ใกล้กับพระสงฆ์
การใกล้กันนี้จะทำให้เราเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ง่ายขึ้น “การเข้าถึงพระรัตนตรัย” หมายถึง การทำ
ใจของเราให้ใส เมื่อเราทำใจให้ใสแล้ว วาจาของเราก็ใสด้วย คือวาจาดี เมื่อวาจาดี การกระทำของ
เราก็จะดีเพิ่มมากขึ้น
เพราะฉะนั้น การได้ปฏิบัติธรรมร่วมกัน ได้ชื่อว่าเป็น “ญาติธรรม” คือเป็นญาติทางธรรมะ
ไปไหนไปด้วยกัน คำว่า “ไปไหนไปด้วยกัน” หมายถึง ไปด้วยกันทางธรรมะ เราจะได้ปฏิบัติธรรม
่
อย่างสม่ำเสมออยางนี้ บางท่านถามว่า เดือนหน้ามีหรือยัง ก็ขอให้ทุกท่านได้เข้าใจว่า การปฏิบัติ
ธรรมมีทุกเดือน ช่วงโควิดนี้ เราได้มาดูใจดูกายของเรา การได้มาดูใจก็คือว่า เอาใจของเรานี่ให้ใส่
ธรรมะไปเยอะ ธรรมะคือคำสอนของพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าให้เดินจงกรม เราก็เดินจงกรม ให้นั่ง
ื
ิ
ิ
สมาธิเราก็นั่งสมาธิ ให้สวดมนต์เราก็สวดมนต์ ให้ยนทำสมาธิเราก็ยืนทำสมาธ ให้นอนทำสมาธ เรา
่
ก็นอนทำสมาธิ อยางนี้เรียกว่า “เอาธรรมะเข้าสู่ใจของเรา”
วันพรุ่งนี้ก็จะเป็นวันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้ากว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญ
บารมีมาหลายภพหลายชาติ เรียกว่านับเป็นอสงไขยเลยทีเดียว ตอนที่พระองค์จะได้ตัดสินใจ
ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่งนั้น ตอนนั้นเป็น “สุเมธดาบส” สุเมธดาบสก็มี
บุญมารมีแล้ว เหาะเหินเดินอากาศได้ มีบุญญาธิการมากพอสมควรแล้ว ครั้งหนึ่งท่านเหาะมาทาง
อากาศ ก็ได้เห็นประชาชนทั้งหลายกล่าวกันว่าสาธุ สาธุ สาธุ โอ้ มันดังกึกก้องไปถึงชั้นบรรยากาศ
คำว่า “สาธุ” นี้ไม่ธรรมดานะ เสียงกระแสจิตของเราที่กล่าวว่าสาธุ สาธุ สาธุนี่ อย่างหลวงปู่มั่นเคย
พูดว่าเสียงสาธุนี่ดังไกลไปถึงภพภูมิเทวดาเลย หลวงปู่มั่นนั่งสมาธิอยู่ เทวดามากราบหลวงปู่มั่น
ุ
หลวงปู่ครับ หลวงปู่ครับ คงจะว่าอย่างนี้ มีใครสวดมนต์ มีใครทำอะไร มีแต่กล่าวสาธุ สาธ สาธุ ฟัง
๑๓๓