Page 172 - ธรรมะบรรยาย2564
P. 172
วันเข้า นั่งสมาธิทีไร ก็โน่นไปถึงอรูปฌานโน่นนะ บางวันท่านว่าไม่ได้มาฉันข้าวเลย เข้าตั้งแต่ ๖ โมง
เย็นไปถึง ๓ หรือ ๔ โมงเช้า
วันหนึ่งก็ไม่ได้มาถวาย ไม่ได้มาทำอาหารถวาย หลวงปู่มั่นก็ถามว่า “แกไปไหนมานี่ ทำไมมา
ช้า ไม่ได้มาทำอาหารให้เราเลย” “ผมนั่งสมาธิเพลินครับ” “โอ หน้าที่ก็ต้องรู้หน้าที่สิ ทำอย่างนี้
ไม่ได้ หน้าที่ก็ต้องเป็นหน้าที่ก็ต้องมา สวดมนต์ก็ต้องสวด นั่งสมาธิก็ต้องนั่ง เวลาปฏิบัติครูบา
์
อาจารย์ก็ต้องปฏิบัติครูบาอาจารย ทำอย่างนี้ไม่ถูก” หลวงปู่มั่นท่านก็ว่าให้ พอไปนั่งสมาธิก็
เหมือนเดิม นั่งสมาธิลึกละทีนี้ โอ ลืมแล้ว แหม หลวงปู่มั่นก็เดินเข้าไปหาหลวงพ่อกำลังนั่งสมาธิใน
กลด เมื่อก่อนไม่มีมุ้ง ไม่มีมุ้งลวด มันต้องเป็นกลดเหมือนกับร่มใหญ่ ๆ แล้วก็มีมุ้งอย่างนั้น หลวงปู่
มั่นเดินมาก็เขย่ามุ้งเขย่ากลดปุ้ง ๆ วิริยังค์ “แกมันผิดแล้ว” “ผิดยังไงครับ” “เอ้า นั่งสมาธิเข้าไป
อรูปฌานก็ผิดซิ มันผิดทาง ต้องเอาจิตลงมา ไปอยู่อรูปฌานนานเกินไปมันไม่ดี มันสูบกินพลังจิตรู้
ไหม”
หลวงพ่อบอกว่าตั้งแต่บัดนั้นมาหลวงพ่อไม่เคยเอาจิตเข้าสู่สมาธิลึกเลย ถึงเข้าไปก็เป็น
บางครั้งบางคราว แต่ไม่ลึกเป็นวันเป็นหลายชั่วโมง จนลืมมาทำหน้าที่ของตัวเอง หลวงพ่อบอกว่า
หลวงปู่มั่นมีบุญคุณและมีเมตตาต่อท่านมาก ขนาดท่านจะเดินหลงทาง หลวงปู่มั่นยังมาเตือนถึงใน
มุ้ง ท่านเคารพหลวงปู่มั่นอย่างสุดซึ้ง เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายหลวงพ่อบอกว่าท่านสอนนี่
ู้
ิ
ต้องการอยากให้ทุกท่านรจักสัมมาสมาธิ ก็คือสมาธิที่ถูกทาง ถ้าหากว่าเข้าอยู่ในมิจฉาสมาธ นั่งเป็น
๑๐ ปีมันก็จะสูบกินพลังจิต ท่านว่าอย่างนี้ ๑๐ ปีก็ได้สมาธิ แต่มันสูบกินพลังจิต พอสูบกินพลังจิต
ไปเรื่อย ๆ มันก็หมด เหมือนได้เงินมาเยอะ ๆ ก็ใช้จ่ายเงินหมด เงินหมดก็เป็นคนจน เหมือนเป็น
เศรษฐีแต่ไม่ได้เป็นเศรษฐี ทำไม ก็เพราะเงินมันหมดแล้ว ก็ทำนองเดียวกันท่านว่าอย่างนี้
ิ
เพราะฉะนั้น การทำสมาธท่านจึงเน้นเรื่องสัมมาสมาธิ คือสมาธิตั้งแต่ปฐมฌาน ทุติยฌาน คือ
ฌาน ๑, ฌาน ๒, ฌาน ๓, ฌาน ๔ อย่างนี้เรียกว่า “สัมมาสมาธิ” ต้องทำแล้วทำอีก ๆ กว่าจะรู้ว่า
ฌาน ๑ เป็นยังไง ฌาน ๒ เป็นยังไง ฌาน ๓ เป็นยังไง ฌาน ๔ เป็นยังไง เราไม่ใช่รู้ง่ายไป ต้องอาศัย
วสีทั้ง ๕ ชำนาญในการเข้า ชำนาญในการออก เรียกว่าการชำนาญในการดำรงอยู่ กว่าจะรู้ก็ไม่ใช่
ง่าย ๆ เพราะฉะนั้น ก็ต้องปฏิบัติไปเรื่อยไปก็แล้วกัน เมื่อไหร่เราง่วงก็หลับไปมั่ง นอนมั่ง ตื่นมั่ง
พยายามปฏิบัติก็แล้วกัน มันเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดา มันมีหลังมั่งตื่นมั่ง ผิดมั่งถูก
มั่ง ถ้าหากคนที่ไม่ทำผิดเลยนั้นก็คือคนที่เป็นพระอรหันต์แล้ว รู้ว่าผิดเป็นยังไง รู้ว่าถูกเป็นยังไง
ท่านจะไม่หวนมาทำผิดอีกต่อไป
๑๗๒