Page 20 - BBLP ejournal2018.docx
P. 20

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                     ค่าอัตราพันธุกรรมส าหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคสาวและแม่โคจากการวิเคราะห์แบบ

              ทีละลักษณะและสองลักษณะพร้อมกันได้ค่าใกล้เคียงกันสอดคล้องกับการศึกษาของ Kadarmideen et al.,

              (2003) ค่าอัตราพันธุกรรมของ AFS และ AFCมีค่าเท่ากับ 0.18 โดยเฉพาะ AFS ซึ่งมีค่าใกล้เคียงหรือสูง

              กว่าที่ได้รายงานไว้ส าหรับโคโฮลสไตน์ในประเทศแคนาดา (Jamrozik et al., 2005) ญี่ปุ่น (Abe et al.,
              2009) อิหร่าน (Eghbalsaied, 2011) เนเธอร์แลนด์ (De Haer et al., 2013) และจีน (Guo et al., 2014) แต่

              มีค่าต ่ากว่าโคบราวน์สวิสในเขตร้อนชื้นของแมกซิโก (Estrada-León et al., 2008) และโคนมลูกผสมของ

              ประเทศไทย (Buaban et al., 2015) จากผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงทางพันธุกรรมของ AFS

              สามารถท าได้ด้วยการคัดเลือกส าหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์อื่นๆค่าอัตราพันธุกรรมมีค่าน้อยกว่าหรือ

              เท่ากับ 0.07 ซึ่งต ่ากว่าในโคโฮลสไตน์ของแคนาดา (Jamrozik et al., 2005) และโคโฮลสไตน์ของญี่ปุ่น

              (Abe et al., 2009) แต่เท่ากับหรือสูงกว่าเล็กน้อยตามการศึกษาของVeerkamp and Beerda (2007) และ

              ตามที่ได้รายงานในโคนมไทย (König et al., 2005; Buaban et al., 2015)
                     ค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในแม่โคที่มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.07 ยังพบในโค

              โฮลสไตน์ในประเทศคิวบา (Buxadera and Dempfle, 1997) โคโฮลสไตน์ในประเทศเคนยา (Ojango and

              Pollott, 2001) โคนมในประเทศเอธิโอเปีย (Demeke et al., 2004) โคบราวน์สวิสในเขตร้อนชื้นของเม็กซิโก

              (Estrada-León et al., 2008; Utrera et al., 2010) และโคโฮลสไตน์ในประเทศโคลัมเบีย (Zanbrano and

              Echeverri, 2014) ด้วย

                     ในการศึกษาครั้งนี้พบว่าค่าอัตราทางพันธุกรรมที่ต ่าชี้ให้เห็นว่าการปรับปรุงลักษณะความสมบูรณ์

              พันธุ์ในโคสาวและแม่โคสามารถท าได้โดยการปรับปรุงการจัดการทางระบบสืบพันธุ์ เช่น การจับสัด

              การผสมเทียมในเวลาที่เหมาะสม การจัดการให้อาหารส าหรับโคที่ก าลังเจริญเติบโตและโคหลังคลอด

              อย่างไรก็ตามความผันแปรของค่าอัตราพันธุกรรมระหว่างแต่ละงานวิจัยเป็นผลเนื่องมาจากโมเดลและ
              วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์

                     เมื่อวิเคราะห์ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ที่มีข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (NSPC, FSC, P56, P90) ด้วย TAM

              โดยใช้ Bayesian approach via Gibbs sampling และ LAM โดยใช้ Restricted maximum likelihood

              method ทั้งในโคสาว และแม่โค (Table 3) พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะที่ศึกษาจากการวิเคราะห์

              ด้วย TAM มีค่าอยู่ระหว่าง 0.01-0.04 มีค่าใกล้เคียงหรือไม่แตกต่างจากการวิเคราะห์ด้วย LAM ซึ่ง

              สอดคล้องกับการศึกษาของ Silvestre et al. (2007) แต่ต่างจากการศึกษาของ Kadarmideen et al. (2000),

              Kuhn et al. (2006) และ Teizzi et al. (2012) ที่พบว่าค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์

              จากการวิเคราะห์ด้วย TAM มีค่าอัตราพันธุกรรมสูงกว่าการวิเคราะห์ด้วย LAM อย่างไรก็ตามมีงานวิจัย

              หลายงานที่ได้รายงานข้อที่ดีและเหมาะสมกว่าที่ใช้ใน TAM ประมาณค่าทางพันธุกรรมของลักษณะไม่
              ต่อเนื่อง (Gianola and Foullery, 1983; Sun and Su, 2010) โดยเฉพาะลักษณะ Binary



                                                           10
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25