Page 22 - BBLP ejournal2018.docx
P. 22

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



              Hutchinson, 2008; Tiezzi et al., 2013) อย่างไรก็ตามเมื่อมีการวิเคราะห์ด้วย TAM พบว่า ค่าอัตราการมี

              ส่วนร่วมของฝูงที่วิเคราะห์ได้ให้ค่าสูงกว่าการวิเคราะห์ด้วย LAM ทั้งโคสาวและแม่โค


              ค่าอัตราซ ้า

                     ค่าอัตราซ ้าของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ส าหรับแม่โค (ไม่ได้แสดงทั้งหมด ยกเว้น NSPC, FSC,

              P56 และ P60) มีค่าระหว่าง 0.07 (FSC) ถึง 0.15 (NSPC) (Table 3) ค่าที่ได้อยู่ในช่วงที่ได้รายงานไว้

              ส าหรับโคนมที่อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้น (Ojango and Pollott, 2001; Demeke et al., 2004;

              Estrada-León et al., 2008)ค่าอัตราซ ้านี้จะมีค่าเฉพาะตัวส าหรับสัตว์ฝูงใดฝูงหนึ่ง และมักจะมีค่าสูงกว่าค่า
              อัตราพันธุกรรมในลักษณะเดียวกันเสมอเนื่องจากค่าอัตราซ ้าเป็นการรวมเอาค่าพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม

              ถาวรเข้าไว้ด้วยกัน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ ระดับต ่า (<0.2) ระดับปานกลางกลาง (0.2-0.4) และ

              ระดับสูง (>0.4) หากค่าอัตราซ ้าอยู่ในระดับสูง บันทึกแรกของสัตว์จะสามารถน ามาใช้เป็นตัวบ่งชี้ที่ดีส าหรับ

              บันทึกครั้งถัดไปได้ แต่หากค่าอัตราซ ้าอยู่ในระดับต ่า บันทึกแรกจะไม่สามารถน าไปใช้เป็นตัวบ่งชี้ส าหรับ

              บันทึกครั้งถัดไปได้


              สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคสาวและแม่โค

                     Table 4 และ Table 5 แสดงสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและสหสัมพันธ์ทางลักษณะปรากฏระหว่าง

              ลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคสาวและแม่โค

                     ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมและทางลักษณะปรากฏในโคสาวระหว่าง AFS และ AFC มีค่าเท่ากับ

              1 และ 0.93 ตามล าดับ แต่ระหว่าง AFS หรือ AFC กับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์อื่นๆ (NSPC, DFTC,

              FSC, P56 และ P90) มีค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมค่อนข้างต ่า ซึ่งอยู่ในช่วงจาก 0.01 (ความสัมพันธ์ทาง

              ลบระหว่าง AFS และ NSPC) ถึง 0.11 (ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง AFS และ P90) และค่าสหสัมพันธ์
              ทางลักษณะปรากฏระหว่าง AFS หรือ AFC กับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์อื่นๆมีค่าต ่าเช่นกันซึ่งอยู่ในช่วง

              จาก 0.03 (ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง AFS และ FSC, AFS และ P56, AFS และ P90) ถึง 0.32

              (ความสัมพันธ์ทางบวกระหว่าง AFC และ DFTC) เมื่อพิจารณาเฉพาะลักษณะอื่นๆ นอกจาก AFS  และ

              AFCพบว่าลักษณะ DFTCในโคสาวมีสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับลักษณะอื่นๆค่อนข้างสูง (NSPC (0.93),

              FSC (-0.76), P56 (-0.99) และ P90 (-0.99)) ซึ่งมีความสัมพันธ์เช่นเดียวกับในแม่โคที่ลักษณะ DFTC มี

              สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับลักษณะอื่นๆค่อนข้างสูง (NSPC (0.95), FSC (-0.93), P56 (-0.99), P90

              (-0.99), DO (0.90) และ CI (0.89)) ยกเว้นสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมกับ DTFS  (0.63) ที่มีค่าปานกลาง








                                                           12
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27