Page 26 - BBLP ejournal2018.docx
P. 26

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                                                          สรุป

                     พารามิเตอร์ที่ประมาณได้จากการศึกษาครั้งนี้จะช่วยในการพัฒนาระบบการประเมินพันธุกรรม

              ส าหรับลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์เพื่อการปรับปรุงความสามารถของความสมบูรณ์พันธุ์ในโคนมเพศเมีย

              ของประเทศไทย โดยทั่วไปค่าอัตราพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ของโคนมเพศเมียจะมีค่าต ่า
              แต่การคัดเลือกความสมบูรณ์พันธุ์ก็มีโอกาสเป็นไปได้เนื่องจากความแตกต่างทางพันธุกรรมแบบบวกสะสม

              ของลักษณะเหล่านี้ถือว่าเพียงพอที่จะพิจารณาปรับปรุงโดยอาศัยการคัดเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ

              การคัดเลือกลักษณะ DFTC หรือ DO ส าหรับโคสาวและแม่โคจะส่งผลท าให้ความสามารถในการผสมติด

              และตั้งท้องมีความก้าวหน้าทางพันธุกรรมมากที่สุด ดังนั้น DFTC หรือ DO สามารถใช้เป็นดัชนีส าหรับ

              ความสมบูรณ์พันธุ์โคสาวและแม่โคที่ดีที่สุด และร่วมกับลักษณะอื่นที่พิจารณาว่าเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน

              ทางพันธุกรรม เช่น AFS (ในโคสาว) และ DTFS หรือ NSPC (ในแม่โค) ในรูปแบบของดัชนีความสมบูรณ์

              พันธุ์ (Fertility index) ซึ่งจะท าให้สามารถคัดเลือกลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              การแสดงออกของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคสาวและแม่โคมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญในทาง

              พันธุกรรม และควรพิจารณาว่าเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน แต่มีความเกี่ยวข้องกันในการประเมินทาง
              พันธุกรรม



                                                    กิตติกรรมประกาศ

                     คณะผู้วิจัยขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ผสมเทียม และเจ้าหน้าที่ส่วนงานสารสนเทศของศูนย์วิจัยการผสม

              เทียมและเทคโนโลยีชีวภาพทุกท่านที่ท าหน้าที่เก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลการผสมเทียมเข้าสู่ระบบ

              สารสนเทศโคนมของส านักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์รวมถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทุก

              ท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดเก็บข้อมูล


                                                      เอกสารอ้างอิง


              กรมปศุสัตว์. 2558. รายงานสรุปภาพรวมของโคที่ท าทะเบียนแยกตามสายพันธุ์. ส านักเทคโนโลยีชิวภาพ
                     การผลิตปศุสัตว์. แหล่งที่มา http://164.115.24.111:8088/dairy/main.php?event=report

              วิชัย ทิพย์วงค์, มนต์ชัย ดวงจินดา, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, วิโรจน์ ภัทรจินดา, และจินตนา วงศ์นากนากร.

                     2548. การประมาณค่าพารามิเตอร์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ ในโคนมด้วยวิธี

                     วิเคราะห์ร่วมหลายลักษณะ. สัมมนาวิชาการเกษตร ประจ าปี 2548; 24-25 ม.ค. 2548; คณะ

                     เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: 2548. หน้า 99-100.

              Abe, H., Y. Masuda, and M. Suzuki. 2009. Relationships between reproductive traits of heifers and

                     cows and yield traits for Holsteins in Japan. J. Dairy Sci. 92:4055–4062.



                                                           16
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31