Page 25 - BBLP ejournal2018.docx
P. 25

Journal of Biotechnology in Livestock Production



              ศึกษาในประชากรโคนมโฮลสไตน์ในประเทศจีน ดังนั้น DFTC หรือ DO สามารถใช้เป็นดัชนีส าหรับวัด

              ความสมบูรณ์พันธุ์โคสาวหรือแม่โคที่เหมาะสมร่วมกับลักษณะอื่นที่พิจารณาว่าเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน

              ทางพันธุกรรม เช่น AFS (ในโคสาว) และ DTFSหรือ NSPC (ในแม่โค) ในรูปแบบของดัชนีความสมบูรณ์

              พันธุ์ (Fertility index) จะท าให้สามารถคัดเลือกลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งนี้
              จะเลือกใช้ DFTC หรือ DO ให้พิจารณาจากการได้มาของข้อมูลว่าลักษณะไหนจะได้ข้อมูลมาได้ง่ายกว่า

              หรือถูกต้องมากกว่ากัน


              สหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างโคสาวและแม่โค

                     ค่าสหสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ (DFTC, NSPC, FSC, P56 และ P90)

              ระหว่างโคสาวและแม่โคจากการวิเคราะห์ด้วย LAM และ TAM มีค่าห่างจาก 1 อยู่ระหว่าง 0.46 (P90,

              ความสัมพันธ์ทางบวก) ถึง 0.91 (NSPC, ความสัมพันธ์ทางบวก)และ 0.04 (P90, ความสัมพันธ์ทางบวก)

              ถึง 0.87 (DFTC, ความสัมพันธ์ทางบวก) ตามล าดับ (Table 6)

                     ผลการวิเคราะห์ที่ได้สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ในโคนมลูกผสม (สายัณห์ และคณะ, 2015)

              ในโคพันธุ์โฮลสไตน์  (Haile-Mariam et al., 2003b; Jamrozik et al., 2005; Abe et al., 2009) และในโค

              พันธุ์บราวน์สวิส (Tiezzi et al., 2012) ค่าสหสัมพันธ์ที่มีค่าตั้งแต่ต ่าถึงปานกลาง และมีค่าห่างไปจาก 1

              ชี้ให้เห็นว่าลักษณะความสมบูรณ์พันธุ์ในโคสาวมีความแตกต่างทางพันธุกรรมจากลักษณะความสมบูรณ์

              พันธุ์ในแม่โค ทั้งนี้อาจเนื่องจากความสามารถในการเผาผลาญอาหารระหว่างโคสาวและแม่โคให้นม
              แตกต่างกันดังนั้นในการประเมินทางพันธุกรรมเพื่อคัดเลือกปรับปรุงประสิทธิภาพลักษณะความสมบูรณ์

              พันธุ์ของโคสาวและแม่โค ควรจะพิจารณาว่าเป็นลักษณะที่แตกต่างกันแต่มีความเกี่ยวข้องกันทาง

              พันธุกรรม และในโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ลักษณะของทั้งโคสาวและแม่โคควรได้รับการพิจารณา

              โดยเฉพาะการวิเคราะห์แบบหลายลักษณะพร้อมกันแล้วพัฒนาเป็นดัชนีความสมบูรณ์พันธุ์



              Table 6 Estimatesof genetic correlations (standard deviation in parenthesis) among fertility traits treated as different
                     trait across parities which analyzed by Linear animal model (LAM) and Threshold animal model (TAM)
                           Traits 1/                       LAM                            TAM

                            NSPC                        0.91 (0.001)                   0.35 (0.040)
                            FSC                         0.67 (0.001)                   0.51 (0.212)
                            P56                         0.48 (0.002)                   0.27 (0.120)
                            P90                         0.46 (0.002)                   0.04 (0.106)
                            DFTC                        0.84 (0.048)                   0.87 (0.062)
              1/  NSPC = number of service per conception; FSC = conception at first service; P56= pregnancy within 56 days

              after first service; P90 = pregnancy within 90 days after first service; DFTC = days from first service to conception



                                                           15
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30