Page 91 - BBLP ejournal2018.docx
P. 91

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                                                          ค าน า

                     ปัจจุบัน การเลี้ยงแพะในพื้นที่ภาคใต้ นิยมเลี้ยงแพะเนื้อลูกผสมพันธุ์บอร์ โดยกรมปศุสัตว์ให้การ

              ส่งเสริมและสนับสนุน การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีการผสมเทียมด้วยน ้าเชื้อแช่แข็ง ที่ผลิตจากพ่อพันธุ์ของ

              กรมปศุสัตว์ ส่งผลให้มีความต้องการในการรับบริการผสมเทียมเพิ่มมากขึ้น ท าให้ต้องใช้น ้าเชื้อแช่แข็งใน
              ปริมาณที่มากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่เนื่องจากพ่อพันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกและทดสอบ

              ส าหรับใช้ในการผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งมีจ านวนจ ากัด จึงจ าเป็นต้องผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งให้ได้ปริมาณเพิ่มมากขึ้น

              จากจ านวนพ่อพันธุ์แพะที่มีอยู่เท่าเดิมโดยยังคงคุณภาพและอัตราผสมติดไม่ลดลงจากเดิม

                     กรมปศุสัตว์ก าหนดให้น ้าเชื้อแช่แข็งแพะที่ผ่านการรับรองมาตรฐานต้องมีอสุจิมีชีวิตภายหลังการ

              ละลายไม่ต ่ากว่า 40 ล้านตัวต่อโด๊ส ซึ่งปัจจุบันศูนย์ผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งแพะผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งที่ระดับความ

              เข้มข้นของอสุจิ 150 ล้านตัวต่อโด๊ส และมีอัตราการเคลื่อนที่ภายหลังการละลายไม่ต ่ากว่า 40% หรือคิดเป็น

              60 ล้านตัวต่อโด๊ส ซึ่งยังมีจ านวนอสุจิมีชีวิตมากกว่ามาตรฐานที่กรมปศุสัตว์ก าหนดดังนั้นหากลดระดับ

              ความเข้มข้นของอสุจิลงเหลือ 100 ล้านตัวต่อโด๊ส และยังสามารถคงคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานที่

              กรมปศุสัตว์ก าหนด น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งแพะให้
              เพียงพอต่อความต้องการได้ มีรายงานการเติมสารลายที่สามารถเพิ่มคุณภาพของน ้าเชื้อแช่แข็ง เช่น การ

              เติมสารละลาย Equex STM ร่วมกับน ้ายาเจือจางน ้าเชื้อไข่แดงเพื่อช่วยลดความเสียหายจากการแช่แข็ง

              (Loskutoff et al., 2010)

                     ดังนั้นจึงท าการศึกษาผลของสารละลาย Equex STM ต่อคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็งและระดับความ

              เข้มข้นของน ้าเชื้อแช่แข็งต่ออัตราการผสมติดในแพะพื้นเมืองลูกผสมในภาคใต้ของประเทศไทยเพื่อเพิ่ม

              ประสิทธิภาพการผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งแพะให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร โดยยังคง

              คุณภาพและอัตราผสมติดไม่ต่างจากเดิม


                                                อุปกรณ์และวิธีการทดลอง

              การทดลองที่ 1 การผลิตน ้าเชื้อแช่แข็ง

                     รีดเก็บน ้าเชื้อจากแพะพ่อพันธุ์บอร์จ านวน 2 ตัว อายุประมาณ 3-4 ปี ด้วยวิธี artificial vaginal

              method สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5 สัปดาห์ โดยก าหนดให้น ้าเชื้อมีการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิไม่ต ่ากว่า

              70% ความผิดปกติของตัวอสุจิส่วนหัวไม่เกิน 12% และส่วนหางไม่เกิน 25% ตามวิธีการผลิตน ้าเชื้อแพะ

              ของศูนย์วิจัยการผสมเทียมและเทคโนโลยีชีวภาพสงขลากรมปศุสัตว์ วางแผนการทดลองแบบ 2x2

              Factorial in RCBD ก าหนดให้ปัจจัยที่ศึกษา (Factor) 2 ปัจจัย ได้แก่ปัจจัยที่ 1 การเสริมสารละลาย Equex

              STM ที่ระดับความเข้มข้น 0.5% (v/v) และไม่เสริม ปัจจัยที่ 2 ระดับความเข้มข้นน ้าเชื้อ 100 และ 150 ล้าน
              ตัวต่อโด๊ส และก าหนดให้ พ่อพันธุ์ เป็นบล็อก (Table 1)



                                                           81
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96