Page 94 - BBLP ejournal2018.docx
P. 94

วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์



                     การวิเคราะห์และแปรผลค่าตัวชี้วัดของคุณภาพน ้าเชื้อ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนด้วย Analysis

              of Variance วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s Multiple Range Test และอัตราการ

              ผสมติดด้วยการวิเคราะห์ความถี่ (Analysis of Frequency Data)


                                                ผลการทดลองและวิจารณ์

                     ผลการวิเคราะห์คุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็งแพะพบว่าปัจจัยการเสริมและไม่เสริมสารละลาย Equex

              STM กับระดับความเข้มข้นของอสุจิไม่มีอิทธิพลร่วมกัน จึงพิจารณาผลการทดลองทีละปัจจัยพบว่าการ

              เสริมสารละลาย Equex STM และความเข้มข้นของอสุจิไม่มีผลต่ออัตราการเคลื่อนที่ของอสุจิ (P>0.05) แต่

              การเสริมสารละลาย Equex STM มีผลท าให้อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า VAP VSL และ VCL ของอสุจิมี

              ค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เสริมแต่ลักษณะการเคลื่อนที่ ALH STR และ LIN ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05)
              ในขณะที่ปัจจัยของความเข้มข้นของอสุจิที่ระดับความเข้มข้น 100 และ 150 ล้านตัวต่อโด๊ส มีผลท าให้

              น ้าเชื้อแช่แข็งแพะมีคุณภาพไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) (Table 2)

                     การเสริมสารละลาย Equex STM ในน ้ายาเจือจางสามารถเพิ่มคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็งแพะโดยท าให้

              อัตราการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และความเร็วในการเคลื่อนที่ VAP VSL และ VCL เพิ่มขึ้น ซึ่งแสดงถึงอสุจิมี

              ความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ดีขึ้นในขณะที่ยังคงลักษณะการเคลื่อนที่ของอสุจิไว้ โดยประเมินจากค่า

              ALH STR และ LIN ที่ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการเสริมสารละลาย Equex STM ในน ้ายาเจือจางสามารถช่วย

              ลดความเสียหายจากการแช่แข็ง (Loskutoff et al., 2010) ท าให้น ้าเชื้อแช่แข็งมีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งสอดคล้อง

              กับรายงานของวิศิษฐและคณะ (2556) ที่ท าการศึกษาการเสริมสารละลาย Equex STM ที่ระดับ 0.5% (v/v)

              ในน ้ายาเจือจางชนิด Egg Yolk Tris พบว่าสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็งแพะภายหลังละลายได้ดี
              ที่สุด สอดคล้องกับ Anakkul et al. (2010) พบว่าการเสริมสารละลาย Equex STM ที่ระดับความเข้มข้น 1%

              ในน ้ายาเจือจางสามารถช่วยเพิ่มอัตราการรอดของอสุจิแพะในช่วง 2 ชั่วโมงภายหลังการละลาย นอกจากนี้

              การเสริมสารละลาย Equex STM ในน ้ายาเจือจางในสัตว์ชนิดอื่น ก็สามารถช่วยเพิ่มคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็ง

              ให้ดีขึ้นเช่นกัน อาทิเช่น สุกร ที่ระดับความเข้มข้น 1.5% (Graham and Crabo, 1972) น ้าเชื้อสุนัขที่ระดับ

              ความเข้มข้น 0.5% (Rota et al., 1997) น ้าเชื้อโคที่ระดับความเข้มข้น 0.375 % (Underwood et al., 2009)

              และน ้าเชื้อหนูทดลองที่ระดับความเข้มข้น 0.5% (Devit et al., 2000)












                                                           84
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99