Page 97 - BBLP ejournal2018.docx
P. 97

Journal of Biotechnology in Livestock Production



                     อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาในครั้งนี้ การลดระดับความเข้มข้นของน ้าเชื้อจาก 150 เป็น 100

              ล้านตัวต่อโด๊ส มีผลท าให้อัตราการผสมติดไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งแพะจึงอาจลดระดับ

              ความเข้มข้นของน ้าเชื้อเป็น 100 ล้านตัวต่อโด๊ส แต่พบว่าอัตราการผสมติดยังค่อนข้างต ่า ซึ่งเกิดจาก

              สาเหตุหลายปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราการผสมติด ทั้งนี้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยในการเลี้ยงดูแม่แพะ ซึ่ง
              ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยเลี้ยงแพะจ านวนไม่มาก ปล่อยหลังบ้านให้กิน

              หญ้าและต้นพืชที่มีตามธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากการเลี้ยงในสภาพฟาร์มที่มีการจัดการที่ดีกว่า จึงท าให้

              อัตราการผสมติดต ่าจ าเป็นต้องหาแนวทางเพิ่มอัตราการผสมติดให้สูงขึ้นกว่านี้ซึ่งยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผล

              ต่ออัตราการผสมติดจากการผสมเทียมด้วยวิธีนี้ เช่น ต าแหน่งที่ปล่อยน ้าเชื้อ การใช้เวลาผสมเทียม การ

              จัดการอาหารสัตว์ เป็นต้น โดยมีรายงานการศึกษาของ Arrebola et al. (2012) รายงานว่าต าแหน่งที่ปล่อย

              น ้าเชื้อมีผลต่ออัตราการผสมติด การใช้เวลาผสมเทียมนานจะท าให้อัตราการผสมติดต ่ากว่าใช้เวลาสั้น

              (Houdeau et al., 2008) และแพะที่ได้รับการเสริมอาหารจะแสดงพฤติกรรมการเป็นสัดและมีอัตราการตก
              ไข่ การตั้งท้องดีกว่าแพะที่ไม่ได้รับการเสริมอาหาร (Fitz-Rodriguez et al.,2009)



                                                    สรุปผลการทดลอง

                     การเสริมสารละลาย Equex STM ในน ้ายาเจือจางน ้าเชื้อสามารถช่วยเพิ่มคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็ง

              แพะและอัตราการผสมติดให้สูงขึ้นส่วนน ้าเชื้อแช่แข็งที่ไม่เสริม Equex STM ความเข้มข้นของอสุจิที่ระดับ

              100 และ 150 ล้านตัวต่อโด๊ส มีผลท าให้อัตราการผสมติดในแพะพื้นเมืองลูกผสมในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ
              ไทยไม่แตกต่างกัน



                                                      ข้อเสนอแนะ

                     ปัจจุบันการผลิตน ้าเชื้อแช่แข็งแพะของกรมปศุสัตว์มีความเข้มข้นของอสุจิที่ระดับ 150 ล้านตัวต่อ

              โด๊ส ดังนั้นหากต้องการเพิ่มคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็งและอัตราการผสมติด ควรพิจารณาเสริมสารละลาย

              Equex STM ในน ้ายาเจือจางน ้าเชื้อและในกรณีที่ต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตแต่ยังคงคุณภาพน ้าเชื้อและ
              อัตราการผสมติดไม่แตกต่างจากเดิม อาจพิจารณาลดความเข้มข้นของอสุจิที่ระดับ 150 ล้านตัวต่อโด๊ส เป็น

              ที่ระดับ 100 ล้านตัวต่อโด๊สเพื่อให้ได้ปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร



                                                    กิตติกรรมประกาศ

                     งานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนจากส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คณะผู้วิจัย

              ขอขอบคุณ นายสัตวแพทย์กิตติศักดิ์ แสงสกุล และเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยการผสมเทียมและ
              เทคโนโลยีชีวภาพสงขลา ที่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุนให้สามารถด าเนินการวิจัยเป็นไปตาม

              วัตถุประสงค์



                                                           87
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102