Page 96 - BBLP ejournal2018.docx
P. 96
วารสารเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์
สามารถเพิ่มอัตราการผสมติดได้ดีขึ้นดังนั้นการเสริมสารละลาย Equex STM ในน ้ายาเจือจางจึงน่าจะเป็น
อีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มทั้งคุณภาพน ้าเชื้อแช่แข็งและประสิทธิภาพการผสมติดในแพะ และเมื่อพิจารณา
ต้นทุนการผลิตในส่วนของน ้ายาเจือจางที่ไม่เสริมสารละลาย Equex STM มีราคา60 บาท/โด๊ส ในขณะที่
น ้ายาเจือจางที่เสริมสารละลาย Equex STM มีราคา 60.15 บาท/โด๊ส ซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อย ถือว่าเป็นการ
เพิ่มต้นทุนการผลิตที่ต ่ามากเมื่อเทียบกับผลที่ได้รับจากการเพิ่มอัตราการผสมติดได้อีก 15%
ผลการศึกษาในกลุ่มที่ไม่เสริมสารละลาย Equex STM ความเข้มข้น 150 ล้านตัวต่อโด๊สและ 100
ล้านตัวต่อโด๊ส พบว่าอัตราการผสมติดจากความเข้มข้นของน ้าเชื้อแช่แข็งทั้ง 2 ระดับไม่แตกต่างกัน โดยมี
อัตราการผสมติดที่ 30-32.5% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต ่าเมื่อเปรียบเทียบการผสมเทียมแพะที่ผ่าน
มาส่วนใหญ่ใช้น ้าเชื้อแช่แข็งที่ความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊ส โดยในปี พ.ศ. 2550 มีการศึกษาเหนี่ยวน า
การเป็นสัดในแพะพันธุ์ซาเนน ด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนร่วมกับ PGF 2α และ PMSG ในการผสมเทียม
แบบก าหนดเวลาด้วยน ้าเชื้อแช่แข็งที่มีความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊ส ในชั่วโมงที่ 48 และชั่วโมงที่ 72
พบว่ามีอัตราการผสมติดที่ร้อยละ 52 (นิวัตน์และคณะ 2550) และปี พ.ศ. 2552 มีการทดลองเหนี่ยวน าการ
เป็นสัดและผสมเทียมแพะพันธุ์ซาเนน โดยการเหนี่ยวน าด้วยฮอร์โมน PMSG ด้วยน ้าเชื้อแช่แข็งที่มีความ
เข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊ส พบว่าอัตราการผสมติดเท่ากับร้อยละ 47-50 (พีระพงษ์และคณะ 2552) ต่อมา
ในปี พ.ศ. 2553 พีระพงษ์และสาโรช (2553) ศึกษาผลของใช้ CIDR® และ Chornogest ในการเหนี่ยวน า
การเป็นสัดและผสมเทียมในแพะซาเนนด้วยน ้าเชื้อแช่แข็งที่มีความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊ส พบว่ามี
อัตราการผสมติดเท่ากับร้อยละ 39.9-43.1 ในขณะที่ อภิชัยและคณะ (2553) รายงานการใช้ CIDR® และ
ผสมเทียมด้วยน ้าเชื้อแช่แข็งที่มีความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊สมีอัตราการผสมติดร้อยละ 30 และใน
ต่างประเทศ การผสมเทียมแพะก็ใช้น ้าเชื้อแช่แข็งที่มีความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊ส ซึ่งมีอัตราการผสม
ติดใกล้เคียงกัน คือร้อยละ 58 (Holtz et al., 2008) และ Arrebola et al. (2012) ผสมเทียมโดยใช้น ้าเชื้อที่มี
ความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊ส ครั้งเดียวที่ 46 ชั่วโมงภายหลังถอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนชนิดฟองน ้า
สอดช่องคลอดมีอัตราผสมติดที่ 48.7%
ในขณะเดียวกัน มีการศึกษาลดความเข้มข้นของน ้าเชื้อแช่แข็งความเข้มข้น 150 ล้านตัวต่อโด๊ส ซึ่ง
เป็นระดับที่ให้ผลการผสมติดไม่ต่างจากน ้าเชื้อแช่แข็งที่ความเข้มข้น 200 ล้านตัวต่อโด๊สโดย Dogan et al.
(2004) ศึกษาเปรียบเทียบฮอร์โมนฟรูออโรเจสโตนและเมดดรอกซี่โปรเจสเตอโรนแบบฟองน ้าชนิดสอด
ช่องคลอดเหนี่ยวน าการเป็นสัดและผสมเทียมโดยใช้น ้าเชื้อความเข้มข้น 150 ล้านตัว/โด๊ส โดยผสมเทียม
ครั้งเดียวชั่วโมงที่ 48 หลังถอดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนพบว่ามีอัตราผสมติดร้อยละ 52.6 และ 50 ตามล าดับ
ขณะที่พีระศักดิ์ (2548) ท าการผสมเทียมแพะด้วยน ้าเชื้อแช่แข็งที่มีความเข้มข้น 100 ล้านตัวต่อโด๊ส ผสม
เทียมเพียงครั้งเดียวมีอัตราการผสมติดร้อยละ 60-65
86