Page 40 - การวจยทางการศกษา v.7_Neat
P. 40
ความคลาดมาตรฐานโดยระบุความมั่นใจหรือความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า ดังนั้น
ในการใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาแทนประชากรจ าเป็นต้องค านึงถึง ความถูกต้อง (accuracy)
ในการเป็นตัวแทนที่ดีของประชากร ซึ่งหมายถึง การไม่มีอคติ(bias)ในตัวอย่างที่ถูกเลือก
หรือกล่าวได้ว่าโอกาสของการเลือกตัวอย่างมาศึกษาเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์สูงหรือต่ า
กว่าความเป็นจริงมีพอๆกัน นอกจากนี้ยังต้องค านึงถึงความแม่นย าในการประมาณ
ค่าพารามิเตอร์ (precision of estimate) ซึ่งความแม่นย านี้สามารถวัดได้จากค่า
ความคลาดเลื่อนในการประมาณค่า โดยค่าความคลาดเลื่อนต่ าจะให้ความแม่นย าในการ
ประมาณค่าสูง ซึ่งค่าความคลาดเคลื่อนนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง เป็น
ความคลาดเคลื่อนจากการเลือกหน่วยตัวอย่าง(sampling error) ที่คาดเคลื่อนไปจาก
ค่าพารามิเตอร์
การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้นมีอยู่สองหลักการใหญ่คือ
1) หลักการอาศัยความน่าจะเป็น (probability sampling) หรือการเลือกอย่างสุ่ม
(random selection) ซึ่งเป็นหลักการที่สมาชิกของประชากรแต่ละหน่วยมีความน่าจะเป็น
ในการถูกเลือกเท่าๆกันและทราบความน่าจะเป็นนั้น 2) ไม่ใช้หลักการความน่าจะเป็น
(nonprobability sampling) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ความน่าจะเป็นในการถูกเลือก
ของแต่ละหน่วยตัวอย่างไม่เท่ากัน หรือบางหน่วยมีโอกาสที่จะไม่ถูกเลือก
ดังนั้นในการจะเห็นได้ว่าในการที่จะได้ว่าถ้าเราเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยอาศัยหลัก
ความน่าจะเป็น จะท าให้การประมาณค่าพารามิเตอร์ได้แม่นย ากว่า
5.2 ลักษณะของกลุ่มตัวอย่ำงที่ดี
1. กำรเลือกกลุ่มตัวอย่ำง
การพิจารณาเลือกกลุ่มตัวอย่างต้องคงไว้ซึ่งความเป็นตัวแทนของ
ประชากร คือ
1.1 คุณสมบัติและคุณลักษณะของความเป็นตัวแทน
1.2 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่างควรมีจ านวนเท่าใด
จึงจะถือว่าเป็นตัวแทนที่ดีที่สุด โดยมีความคลาดเคลื่อนผลการ
ท านายน้อยที่สุด หลักเกณฑ์นี้มีอยู่ในต าราสถิติและต าราระเบียบวิธี
วิจัย ซึ่งผู้วิจัยสามารถหาอ่านและท าความเข้าใจได้ไม่ยาก