Page 16 - รายงานภาวะอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ของประเทศไทย
P. 16
Q u a r t e r l y R e p o r t Q 3 - 2 0 1 9 | 16
ของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัว
ของเศรษฐกิจจีน และประเทศต่างๆ ผ่านการลดลงของจำนวน
นักท่องเที่ยว ระบบการขนส่งและห่วงโซ่การผลิตระหว่างระเทศ
การชะลอตัวของการส่งออก และการลดลงของราคาสินค้า
โภคภัณฑ์ ในตลาดโลก แม้ว่าสถานการณ์และผลกระทบจากการ
แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะยังมีความไม่แน่นอนอยู่สูงก็ตาม
ภายใต้สมมติฐานการแพร่ ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่คาดว่าจะ
เข้าสู่จุดสูงสุดในเดือนมีนาคม และสิ้นสุดลงในช่วงต้นเดือน
พฤษภาคม คาดว่าผลกระทบผ่านระบบขนส่งและ ห่วงโซ่การผลิต
ระหว่างประเทศจะสามารถสิ้นสุดลงในไตรมาสแรกของปี 2563
ในขณะที่ผลกระทบผ่านการส่งออก และการท่องเที่ยวจะเริ่มผ่อน
คลายลงในไตรมาสที่สองก่อนที่จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่
สาม ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว คาดว่าเศรษฐกิจและปริมาณการค้า
โลกในปี 2563 จะขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 2.4 เทียบกับ
การขยายตัวร้อยละ 3.1 และร้อยละ 1.5 ในปี 2562 ตามลำดับ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางความเสี่ยงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
คาดว่าจะยังทำให้ประเทศสำคัญๆ ยังคงดำเนินนโยบายการเงิน
อย่างระมัดระวัง โดยการรักษาระดับการผ่อนคลายนโยบาย
การเงินเพื่อรักษาพลวัตรการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและสนับสนุน
อัตราเงินเฟ้อให้กลับสู่ระดับเป้าหมาย โดยในกรณีฐาน คาดว่า
ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะยังคงการผ่อนคลายนโยบายการเงินไว้ใน
ระดับเดิม แต่มีความเป็นไปได้ที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงิน
เพิ่มเติมในช่วงครึ่งหลังของปี หากอัตราเงินเฟ้อยังไม่มีแนวโน้ม
กลับสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน ส่วนธนาคารกลางยุโรปและธนาคาร
กลางญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
ต่อไป ขณะที่ธนาคารกลางจีนมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบาย
การเงินเพิ่มเติมเพื่อช่วย ลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของ
ไวรัสโควิด-19 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ
ที่มา: CEIC รวบรวมโดย สศช.
ที่มา : รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม ทั้งปี 2561 และแนวโน้มปี 2562 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รูปภาพ: www.freepik.com, www.flaticon.com