Page 9 - หลักสิทธิมนุษย์ชน l831002
P. 9
สูติบัตรมีรูปแบบตามระเบียบส านักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดท าทะเบียนราษฎร์ พ.ศ.
2535 ข้อ 134 คือ
ท.ร. 1 เป็นสูติบัตร ใช้ส าหรับคนที่มีสัญชาติไทยและรับแจ้งเกิดภายใน
ก าหนด
ท.ร. 2 เป็นสูติบัตร ใช้ส าหรับคนที่มีสัญชาติไทยและแจ้งเกิดเกินก าหนด
ท.ร. 3 เป็นสูติบัตรใช้ส าหรับคนที่ไม่มีสัญชาติไทย
จะเห็นได้ว่าสูติบัตรได้แบ่งแยกออกชัดเจนเพื่อให้ครอบคลุมคนประเภทต่างๆ โดยคนที่มี
สัญชาติไทยแลแจ้งเกิดภายในก าหนด คือ ภายใน 15 วันหลังจากคลอด จะได้เอกสาร ท.ร. 1
ส่วนคนไทยที่แจ้งเกิดเกินก าหนด คือ เกิน 15 วันหลังคลอด จะได้เอกสาร ท.ร. 2 ส่วนคนที่ไม่มี
ิ
สัญชาติไทยจะได้เอกสาร ท.ร. 3 ซึ่งระบุชัดเจนว่าไม่มีสัญชาตไทย
แม้กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายภายในประเทศ และระเบียบจะก าหนดหลักเกณฑ์
วิธีการปฏิบัติ และรูปแบบของเอกสารอย่างชัดเจน ในการออกเอกสารแสดงตนของบุคคล ในรูป
ของสูติบัตร แต่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การที่รัฐไทยออกเอกสารรับรองตนให้แก่บุคคลใด
จะเป็นการรับรอง “สถานะทางกฎหมาย” (Personal Legal Status) แก่บุคคลดังกล่าว หรือ
เป็นการให้สัญชาติแก่บุคคลดังกล่าวด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริง
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนท าให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่นายทะเบียน
โดยเฉพาะต่อเด็กชาวเขา เด็กผู้ลี้ภัย เด็กที่ไร้ที่อยู่อาศัย ตลอดจนเด็กที่เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
ซึ่งพบว่าจ านวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับการแจ้งเกิดและไม่ได้สูติบัตร ซึ่งน ามาสู่ค าถามต่อรัฐบาลไทย
โดยคณะกรรมการสิทธิเด็กแห่งสหประชาชาติ
คณะอนุกรรมการเรื่องสิทธิเด็ก ในคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชน
แห่งชาติ ส านักนายกรัฐมนตรี ได้ท าเอกสารตอบ เมื่อ มิถุนายน 2541 สรุปความได้ว่า ได้จด
ทะเบียนการเกิดแก่เด็กกลุ่มชาวเขา เด็กกลุ่มชนเร่ร่อน เด็กไร้ที่อยู่อาศัย เด็กกลุ่มผู้อพยพ และ
เด็กที่อพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมทั้งออกระเบียบ หนังสือสั่งการ และอบรมตลอดจน
ซักซ้อมความเข้าใจของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี
แต่เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2545 ส านักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ได้ออกหนังสือ ที่ มท 1311.1/ว 8 แก่นายทะเบียนทุกจังหวัด ให้รับจดทะเบียนเกิดเฉพาะผู้มี
สิทธิอาศัยในประเทศไทย