Page 7 - หลักสิทธิมนุษย์ชน l831002
P. 7
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือน และสิทธิทางการเมือง พ.ศ. 2519 (ค.ศ.
1966) ข้อ 16 บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายใน
ที่ทุกสถาน
ข้อ 24 (1) เด็กทุกคนย่อมมีสิทธิในมาตรการต่างๆเพื่อการคุ้มครองเท่าที่จ าเป็นแก่สถานะแห่ง
ผู้เยาว์ ในส่วนของครอบครัวของตน สังคม และรัฐ โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติอันเนื่องจาก
เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา เผ่าพันธุ์แห่งชาติ สังคม ทรัพย์สิน หรือก าเนิดเด็กทุกคนย่อมมี
หลักฐานทางทะเบียนทันทีที่ถือก าเนิดและย่อมได้รับการตั้งชื่อ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)
ข้อ 8 (1) รัฐภาคีรับที่จะเคารพต่อสิทธิของเด็กในการรักษาเอกลักษณ์ของตนไว้ รวมถึงสัญชาติ
และความสัมพันธ์ทางครอบครัวของตนตามที่กฎหมายรับรองโดยปราศจากการแทรกแซงที่มิชอบ
ด้วยกฎหมาย
ึ่
2) ในกรณีที่เด็กถูกกีดกันอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ให้ได้รับรู้ส่วนหนงส่วนใด หรือ
ทั้งหมดของหลักฐานแสดงตน รัฐภาคีจะต้องให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองตามความเหมาะสม
เพื่อให้เด็กสามารถมีหลักฐานแสดงตนโดยเร็วรัฐไทยได้ผูกพันเข้าเป็นภาคีต่อกฎหมายระหว่าง
ประเทศฉบับข้างต้น เมื่อปี พ.ศ. 2491, 2539 และ 2535 ตามล าดับ ดังนั้นรัฐไทยซึ่งแม้จะเป็น
รัฐที่มีอ านาจอธิปไตยเหนือดินแดนของตน ก็ย่อมมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตามกฎหมายระหว่าง
ประเทศ 3 ฉบับข้างต้น โดยการออกเอกสารแสดงตน (Identified Paper) หรือ สูติบัตร ให้แก ่
บุคคลที่ถือก าเนิดในดินแดนของรัฐไทย
หลักกฎหมายไทย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2541
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
มาตรา 31 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกันการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหต ุ
แห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นก าเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะ