Page 2 - หลักสิทธิมนุษย์ชน l831002
P. 2
เรื่อง หลักสิทธิมนุษย์ชน
สิทธิมนุษยชน คืออะไร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2541 มาตรา 334 (1) ก าหนด
บังคับไว้ให้ออกกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่
รัฐธรรมนูญใช้บังคับ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมายมารองรับ เรียกว่า “พระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542” ซึ่งมีประเด็นส าคัญ พอสรุปได้ดังนี้
(1)มาตรา 3 ให้ค าจ ากัดความว่า “สิทธิมนุษยชน” หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ
เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง หรือคุ้มครอง ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้อง
ปฏิบัติตาม
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือศักดิ์ศรีความเป็นคนเป็นสิ่งที่ทุกคนมีติดตัวมาแต่
ก าเนิด โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรือ
แนวคิดอื่น ๆ เผ่าพันธุ์ หรือสังคม ทรัพย์สิน ถิ่นก าเนิด หรือสถานะอื่น ๆ เช่น คนเราทุกคนมีสิทธิ
ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นบุคคลตามกฎหมายไม่ว่าที่ไหน เมื่อไร (ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชน ข้อ 6) คนเราทุกคนเกิดมามี อิสรเสรี มีศักดิ์ศรี มีสิทธิเท่าเทียมกันหมดทุกคนได้รับ
การประสิทธิประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันฉันพี่น้อง(ปฏิญญาสากลว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน ข้อ 1) รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติรับรอง ก าชับ และเรียกร้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิ
มนุษยชนไว้ด้วย อย่างชัดเจน ได้แก่
(2) มาตรา 4 บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความ
คุ้มครอง”
้
(3) มาตรา 26 บัญญัติว่า “การใช้อ านาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ตองค านึงถึงศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ”
(4) มาตรา 28 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของ
ตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดตอ
่
ศีลธรรมอันดีของประชาชน