Page 3 - หลักสิทธิมนุษย์ชน l831002
P. 3
ความหมายของสิทธิมนุษยชน
หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐาน เป็นมาตรฐานขั้นต่ าที่พึงมี เป็นสิ่งจ าเป็นในการ
ด ารงชีวิตของมนุษย์อย่างมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่า หากมีการล่วงละเมิดต่อสิทธิดังกล่าว ย่อมจะ
ได้รับการรับรองและคุ้มครองโดยกฎหมาย เช่น สิทธิในชีวิตร่างกาย และความมั่นคงปลอดภัย
สิทธิในการถือครองทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิในการเคลื่อนไหวและในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย เป็น
ต้น
นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนยังหมายถึง สิทธิที่พึงมีเพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ คุณภาพชีวิต
เพื่อธ ารงรักษาไว้ซึ่งคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เช่น สิทธิในการเลือกนับถือศาสนา สิทธิในการ
เลือกที่จะประกอบอาชีพ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตลอดจนสิทธิในการมีส่วนร่วมในทาง
การเมือง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า สิทธิมนุษยชนประกอบไปด้วยสิทธิต่างๆ ครอบคลุมวิถีชีวิตของ
มนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย.
สิทธิมนุษยชนกับสังคมไทย
สิทธิมนุษยชนกับวัฒนธรรม
สิทธิมนุษยชนในสังคมไทยเป็นเรื่องที่ต้องพึงพิจารณาควบคู่ไปกับการท าความเข้าใจบริบท
ของสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่องของวัฒนธรรม ธรรมเนียมปฏิบัติและค่านิยมทางสังคม ซึ่งใน
ด้านหนึ่งจะเห็นว่าสิทธิมนุษยชนได้หนุนเสริมต่อการปฏิบัติเรื่องสิทธิมนุษยชน ในอีกด้านหนึ่งก ็
พบความขัดแย้งของทั้ง 2 มิติ ทั้งนี้สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมหรือประเพณีปฏิบัติที่สืบทอดกันมาใน
บางเรื่องของสังคมไทย อาจไม่ใช่วิถีการปฏิบัติตามปรัชญาสิทธิมนุษยชน จึงอาจถูกมองว่านั่น
เป็นการละเมิดสิทธิ แต่ทว่าการปฏิบัติเช่นนั้นเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยและครรลองการปฏิบัต ิ
เช่นนี้ได้ช่วยให้ความสัมพันธ์ของคนในสังคมด าเนินมาอย่างราบรื่นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในที่นี้จะ
น าเสนอปรากฏการณ์ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน เพื่อน าไปสู่การคิดพิจารณา หาแนวทางที่
เหมาะสมต่อการปฏิบัติเรื่องสิทธิมนุษยชนที่จะน าไปสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อความผาสุกของ
สังคม