Page 4 - หลักสิทธิมนุษย์ชน l831002
P. 4
1. ระบบอุปถัมภ์ค้ าจุนเพื่อพี่น้องและผองเพื่อน หรือเพื่ออ านาจบารมี ระบบอุปถัมภ์ใน
สังคมไทยมีการปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน อันที่จริงแล้วระบบอุปถัมภ์มีคุณค่า
ด้านบวกอยู่ในตัวเอง ทั้งนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของคนในสังคมที่มี
ความใกล้ชิด มีความสนิทสนมและผูกพันต่อกัน นอกจากนี้ยังอธิบายได้ถึงการช่วยเหลือเจือจุน
ของผู้ที่มีมากกว่าต่อผู้ที่มีน้อยกว่า ทั้งในเรื่องทางเศรษฐกิจและสถานะทางสังคม นอกจากนี้
ระบบอุปถัมภ์ยังน าไปสู่การแสดงความกตัญญูรู้คุณจากผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือที่มีต่อผู้มีพระคุณ
อย่างไรก็ตามระบบอุปถัมภ์อาจน าไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ในภาวะของสังคมปัจจุบัน
โดยการบิดเบือนคุณค่าของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไปเป็นผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน
เป็นการสร้างฐานอ านาจและบารมีของผู้ที่มีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงกว่า และชัก
น าไปสู่การตักตวงผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มพวกพ้องอย่างขาดจิตส านึกรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
ดังที่ปรากฏให้เห็นทั้งในระดับกลุ่มย่อย และสังคมใหญ่ในปัจจุบัน
2. ระบบอาวุโส :ความสัมพันธ์เพื่อสร้างสรรค์ หรืออุปสรรคต่อการพัฒนาบุคคล มนุษย์ทุกคนที่
เกิดมาเมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไป ย่อมน าพาให้บุคคลนั้นเจริญวัยขึ้นไปตามช่วงวัยของชีวิต ซึ่งหาก
็
เปรียบเทียบในความแตกต่างระหว่างวัยแล้ว กจะแบ่งออกเป็นเพียงผู้ที่เยาว์วัยกว่าและผู้ที่มี
ั
อาวุโสมากกว่า ดังเห็นได้จากธรรมเนียมปฏิบติของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ เช่น การไหว้ การยืนการนั่ง
่
ในขณะที่สนทนากับผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นคุณค่าที่ดีที่พึงสืบทอดตอไป ในอีกด้านหนึ่ง ระบบอาวุโสก็มี
มิติด้านลบอยู่ในตัวเอง ถ้าหากถูกบิดเบือนคุณค่าของการให้ความเคารพนับถือของบุคคลไปเพื่อ
์
ผลประโยชนส่วนบุคคล เช่น บุคคลใช้อายุที่มากกว่าของตนไปท าให้ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า ได้รับ
ความอึดอัดใจหรือได้รับความกดดัน
ซึ่งบ่อยครั้งปรากฏการณ์ลักษณะเช่นนี้จะเกิดขึ้นในสถาบันต่างๆที่มีความมั่นคงทาง
โครงสร้างและใช้ระบบมาเป็นตัวก าหนดควบคุมเช่น สถาบันโรงเรียน สถาบันราชการ
สถาบันศาสนา สถาบันครอบครัว เป็นต้นยกตัวอย่างเช่น ในสังคมโรงเรียน ซึ่งเป็นสถานที่
หล่อหลอมทางสังคมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่น เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าในบรรยากาศของโรงเรียน
ความสัมพันธ์ระหว่างอาวุโสกับอ านาจที่ใช้เพื่อการปกครองเป็นเรื่องที่แทบจะแยกออกจากกัน
ไม่ได้เลยทีเดียว การปฏิบัติโดยมีอ านาจที่แฝงเร้นจากฐานะที่อาวุโสกว่า เพื่อเป้าหมายของการ
จัดระเบียบสังคมในระดับย่อย อย่างไรก็ดีการใช้ความอาวุโสระหว่างผู้บริหารกับลูกน้อง เช่นนี้
ได้รับการทบทวนในประเด็นของการกระท าที่กระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์