Page 4 - เรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พว31001
P. 4
อาศัยช่องว่างซึ่งสัมพันธ์กับข้อ1 และข้อ 2
4. เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืช การยึดเหนียวของต้นพืช การชอนของรากพืช จะยากหรือง่ายขึ้นอยู่
กับลักษณะโครงสร้างของดิน ถ้าดินมีโครงสร้างที่ดีการชอนของรากพืชจะได้ลึกและกว้าง การยึดเหนี่ยวของล า
ต้นของพืชจะดีขึ้น ทั้งนี้ย่อมหมายถึง รากพืชสามารถเสาะหาอาหารธาตุได้ดีด้วย
ปัจจัยที่ควบคุมการเกิดโครงสร้างของดิน
ดินที่พบตามธรรมชาติโดยทั่ว ๆไป อนุภาคของดินส่วนใหญ่จะไม่อยู่เป็นอนุภาคเดี่ยว ๆ แต่จะ
เกาะอยู่กันเป็นกลุ่มอนุภาคของดิน ปัจจัยที่ส าคัญในการควบคุมการเกิดโครงสร้างของดินมีดังต่อไปนี้
ื่
1. สารเชอม (cementing agent) สารเชื่อมในดินนั้นเป็นสารที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งเรียกว่าดิน
ี่
คอลลอยด์ ได้แก่ ฮิวมัส แร่ดินเหนียวและ ออกไซด์คอลลอยด์ของเหล็กและอลูมิเนียม ซึ่งจะเป็นสารทท าให้
อนุภาคดินเชื่อมยึดติดกันเป็นเม็ดดิน
2. ชนิดการดูดซับแคตไอออน (adsorbed cations) พวกธาตุประจุบวกซึ่งถูกดูดซับอยู่ในดินนั้นมี
อยู่หลายธาตุ ซึ่งจะมีผลต่อการเกิดโครงสร้างของดินแตกต่างกัน กล่าวคือพวก โมโนวาเลนต์ (monovalent)
เช่น โซเดียมไอออน (Na+) จัดเป็น ตัวการกระจายของอนุภาคดิน (dispersing agent) ซึ่งจะเป็นตัวที่ท าลาย
การจัดเรียงตัวกันของอนุภาคดิน ส่วน ไดวาเลนต์ (divalent) เช่นแมกนีเซียมไอออน (Mg++) และ คัลเซียม
ไอออน (Ca++) จัดเป็นพวกจับตัวเป็นก้อน (floculating agent) ซึ่งจะเป็นตัวที่ช่วยท าให้อนุภาคดินมีการ
จัดเรียงตัวดียิ่งขึ้นไป
3. อินทรียวัตถุ (organic matter) ซึ่งเมื่อเน่าเปื่อยแล้วจะได้สาร ฮิวมัสซึ่งเป็นสารเชื่อมภายในดิน
ี่
นอกจากนั้นถ้าดินใดมีอินทรียวัตถุมาก ๆ จะท าให้โครงสร้างของดินทเกิดขึ้นนั้นมีลักษณะโปร่งพรุน มีการ
ระบายน้ าและการถ่ายเทอากาศดีขึ้น
4. รากพืช การแพร่กระจายของรากพืชโดยเฉพาะรากฝอยจะช่วยทาให้อนุภาคมีการจัดเรียงตัวและอัด
ตัวได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นการที่รากพืชดูดน้ าไปจากดินนั้นจะช่วยท าให้เม็ดดินมีการอัดตัวกันดีขึ้นด้วย
5. จุลินทรีย์ในดิน จุลินทรีย์ในดินเป็นตัวการทท าให้อินทรียวัตถุเกิดการเน่าเปื่อย และได้ ฮิวมัส ซึ่งเป็น
ี่
สารเชื่อมในที่สุด นอกจากนั้นไมซีเนียมของ ฟังไจซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งจะช่วยท าให้อนุภาคดินมีการจัดเรียง
ตัวกันดียิ่งขึ้นด้วย
6. การไถพรวนดินถ้ามีการไถพรวนดินในขณะที่ดินแฉะจะเป็นการท าลายโครงสร้างของดิน
ความส าคัญของโครงสร้างของดินต่อการผลิตพืช
โครงสร้างของดิน เป็นปัจจัยส าคัญในการควบคุมการถ่ายเทอากาศ การระบายน้ าในดิน
ี่
โครงสร้างทเหมาะสมจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชปัจจุบันโครงสร้างของดินอาจจะเปลี่ยนไปไม่เหมาะสม