Page 4 - การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการทำวิจัยอย่างง่าย ทร31001
P. 4
การวิจัย
เป็นการหาค าตอบที่อยากรู้ที่สงสัย ที่เป็นปัญหาข้อข้องใจ แต่ค าตอบนั้นต้องเชื่อถือได้ ไม่ใช่การคาดเดา หรือคิดสรุป
ไปเองโดยใช้ความรู้สึก วิธีการหาค าตอบจึงต้องเป็นกระบวนการขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
การวิจัยท าแล้วได้ประโยชน์อย่างไร
คือ การเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต ศึกษาค้นคว้าหาความรู้และเขียนเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้นการ
วิจัยจะเกิดประโยชน์ในภาพรวม ดังนี้
1. การวิจัยท าให้เกิดความรู้ทางวิชาการใหม่ ๆ
2. การวิจัยช่วยให้เกิดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ๆ
3. การวิจัยช่วยตอบค าถามที่อยากรู้ ให้เข้าใจปัญหาและช่วยในการแกไขปัญหา
้
4. การวิจัยช่วยในการวางแผนและการตัดสินใจ
้
5. การวิจัยช่วยให้ทราบผล และขอบกพร่องจากการด าเนินงาน
กระบวนการและขั้นตอนการท าวิจัยอย่างง่าย
การท าวิจัยด าเนินการเป็นขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนแรก มักจะเริ่มต้นจากผู้วิจัยอยากรู้อะไร มีปัญหาข้อสงสัยอะไร เป็นขั้นตอนการก าหนด ค าถามวิจัย/ปัญหา
วิจัย ตัวอย่างค าถามการวิจัย เช่น นักร้องในดวงใจวัยรุ่นคือใคร นักการเมืองในดวงใจวัยรุ่นคือใคร วัยรุ่นใช้เวลาว่างท าอะไร
เป็นต้น ตัวอย่างปัญหาวิจัย เช่น ปัญหาการติดเกมส์ของวัยรุ่น ปัญหาการใช้เวลาว่างของวัยรุ่น ฯลฯ เป็นต้น เมื่อก าหนด
ค าถามการวิจัย/ปัญหาวิจัยแล้ว
ขั้นตอนที่สอง คือ การเขียนโครงการวิจัย ซึ่งต้องเขียนก่อนการท าวิจัยจริง โดยเขียนให้ครอบคลุมว่า จะท า วิจัย
เรื่องอะไร (ชื่อโครงการวิจัย) ท าไมจึงท าเรื่องนี้ (ความเป็นมาและความส าคัญ) อยากรู้อะไรบ้างจากการวิจัย (วัตถุประสงค์
ของการวิจัย) มีแนวทางขั้นตอนการด าเนินงานวิจัยอย่างไร (วิธีด าเนินการวิจัย) ระยะเวลาการวิจัยและแผนการด าเนินงาน
(ปฏิทินปฏิบัติงาน) การวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์อย่างไร (ประโยชน์ของการวิจัยหรือผลที่คาดว่าจะได้รับ)
ขั้นตอนที่สาม คือ การด าเนินงานวิจัยตามแผนที่ก าหนดใว้ในโครงการวิจัย
ขั้นตอนที่สี่ คือ การเขียนรายงานการวิจัยส่วนใหญ่ประกอบด้วยหัวข้อ คือ
1. ชื่อเรื่อง 2. ชื่อผู้วิจัย
3. ความเป็นมาของการวิจัย 4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
5. วิธีด าเนินการวิจัย 6. ผลการวิจัย
7. ข้อเสนอแนะ
8. เอกสารอ้างอิง (ถ้ามี) ขั้นตอนสุดท้ายคือ การเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อให้บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
น าผลงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป