Page 6 - เอกสารประกอบการสมมนา_Classical
P. 6
03
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
3. การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary Instruction)
การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้ คล้ายแบบบูรณาการแบบขนาน กล่าวคือครู
ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปสอนต่างวิชากันมาวางแผนเพื่อสอนร่วมกัน โดยก าหนดว่าจะสอนหัว
เรื่องหรือความคิดรวบยอด หรือปัญหาเดียวกัน ต่างคนต่างแยกกันสอนตามแผนการ
สอนของตน แต่มอบหมายให้ผู้เรียนท างานหรือโครงงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยง
ความรู้สาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนสร้างชิ้นงานได้ครูแต่ละวิชาก าหนดเกณฑ์เพื่อ
ประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียนในส่วนวิชาที่ตนสอน
4. การบูรณาการแบบข้ามวิชาหรือสอนเป็นคณะ (Transdisciplinary
Instruction) ครูที่สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันวางแผนปรึกษาหารือก าหนดหัวเรื่อง หรือ
ความคิดรวบยอด หรือปัญหาเดียวกัน จัดท าแผนการสอนร่วมกันแล้วร่วมกันสอนเป็น
คณะ (Team) โดยด าเนินการสอนผู้เรียนกลุ่มเดียวกันมอบหมายงานหรือโครงการให้
นักเรียนท าร่วมกัน ครูทุกวิชาร่วมกันก าหนดเกณฑ์เพื่อประเมินผลชิ้นงานของผู้เรียน
ร่วมกัน
ผลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการนั้น จิรชพรรณ ชาญช่าง (2563: 78-89)
ได้กล่าวว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนา
ทักษะการคิดขั้นสูง: การเรียนรู้สู่การปฏิบัติจริง พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบ
บูรณาการเป็นแนวทางส าคัญของการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เปลี่ยน
จากการเรียนการสอนแบบบรรยายสู่การปฏิบัติ กล่าวคือ ผู้เรียนจะได้รับการเรียนการ
สอนแบบบูรณาการสาระการเรียนรู้ ผ่านการผสมผสานเนื้อหาสาระภายในศาสตร์หรือ
สาขาวิชาต่าง ๆ ท าให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาในลักษณะองค์รวม มองเห็นความสัมพันธ์ของ
เนื้อหาแต่ละวิชา และสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาที่มีความสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมี
ความหมาย ก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง จากการท ากิจกรรมการบูรณาการ
ท าให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านการคิดจากการได้ลงมือปฏิบัติ ผู้เรียนมีความสนุกในการเรียน
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี รวมไปถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม