Page 109 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 109
97
4. มหานครกระชับ
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ความสำคัญและที่มาของปัญหา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) กำหนดแนวทาง
การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่ง ให้มีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองที่มีความ
เหมาะสมกับขนาดเศรษฐกิจ และสังคมของเมืองที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานสูงและเป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อม โดยเร่งก่อสร้างรถไฟฟ้าใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแผนแม่บทระบบ
ขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล ส่งเสริมให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายผัง
เมือง การสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่ และการพัฒนาพื้นที่รอบ สถานีระบบขนส่งมวลชน (Transit
Oriented Development: TOD) ตามระดับการพัฒนาและความสามารถใน การบริหารจัดการของ
พื้นที่
แผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2565) จึงกำหนด
เป้าหมาย เพื่อให้เกิดการพัฒนาเมืองแบบกระชับ (Compact City) เพื่อให้การขยายตัวเติบโตของ
พื้นที่กรุงเทพฯ เป็นไป อย่างทั่วถึงเต็มพื้นที่ ประชาชนได้รับความสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายใน
การเดินทาง และให้เมืองพัฒนาไปสู่ความ เป็นเมืองกระชับ ทั้งในเชิงพื้นที่และในเชิงเวลาการเดินทาง
ของประชาชน ดังนั้น สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง ได้ กำหนดแผนการพัฒนาศูนย์ชุมชนย่อยของ
เขตเมืองชั้นนอก ซึ่งเขตมีนบุรีเป็นเขตที่มีอัตราการขยายตัวของ ชุมชนเมืองค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็น
พื้นที่เขตต่อเมือง (transition zone) ระหว่างเขตเมืองชั้นกลาง กับเขตเมือง ชั้นนอก จากลักษณะ
การใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวทำให้เขตมีนบุรีเป็นประตูทางเข้า - ออกของเมือง จึงมีการ กำหนดให้มี
ื่
การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพอให้ใช้ประโยชน์เป็นศูนย์ชุมชนชาน
เมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน พื้นที่บริเวณศูนย์ชุมชนชานเมืองมีนบุรีเป็นพื้นที่ที่อยู่ในแนวโครงการรถไฟฟ้า 2
สาย ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ศูนย์
วัฒนธรรม - มีนบุรี) โดยมี จุดร่วมบริเวณสถานีมีนบุรี ภายใต้แนวคิด TOD พื้นที่ดังกล่าวสามารถ
พัฒนาเป็นเมืองต้นแบบของการยกระดับ คุณภาพชีวิตของประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสถานีขนส่ง
มวลชน โดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลาง ได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าและรถบริการสาธารณะ
ควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นทีรอบสถานีให้เกดการใช้ประโยชน์ที่ดิน อย่างคุ้มค่าและหลากหลาย
ิ
วัตถุประสงค์
ิ่
1. เพื่อเพมทางเลือกให้ประชาชนในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางที่กำลังจะเกิดขึ้นใน
อนาคต
2. เพื่อจูงใจให้ประชาชนลดหรือเลิกใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นพาหนะหลักในการเดินทาง