Page 105 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 105
93
(5) ช่องทางที่กรุงเทพมหานครควรพัฒนา เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการ
ประชาชนได้อย่างสะดวกมากขึ้น พบว่าร้อยละ ร้อยละ 73 ควรพัฒนาให้เป็นห้องสมุดออนไลน์ ร้อย
ละ 22.8 สร้างห้องสมุดให้ครอบคลุมทุกเขต
(6) รูปแบบของการเข้าใช้บริการห้องสมุดออนไลน์ที่มีความสะดวกที่สุดใน
ความคิดเห็นของประชาชนคือระบบ QR CODE ร้อยละ 81.1 และ ร้อยละ 17.4 ระบบเว็บไซต์ปกติ
4.3 การค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ สถิติข้อมูลต่างๆ ในเชิงเปรียบเทียบ
ประกอบด้วย ข้อมูล สถิติการใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานครย้อนหลัง 3 ปี
(2560-2562) สถิติการใช้บริการใน ระบบห้องสมุดออนไลน์ของหอสมุดแห่งชาติ เป็นต้น
5. ข้อมูลสภาพพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนา
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 36 แห่ง ทั่วพื้นที่
กรุงเทพมหานคร และมีบริการห้องสมุดเคลื่อนที่ จำนวน 7 คัน ซึ่งบริหารและจัดการสำนักวัฒนธรรม
กีฬา และ การท่องเที่ยว ซึ่ง ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการในวันอังคาร-วัน
เสาร์ เวลา 08.3020.00 น. ส่วนวันอาทิตย์ เปิดให้บริการเวลา 09.00-17.00 น. และ ปิดทำการ
ในวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
การใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร สถิติย้อนหลัง 3 ปี (2560-2562)
พบว่ามีอัตราการเข้าใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร รวมกันทั้ง 36 แห่ง ดังนี้
ื่
ตาราง 3.4 อัตราการเข้าใช้บริการห้องสมุดเพอการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร 36 แห่ง
จำนวนผู้ใช้บริการ (หน่วย : ครั้ง)
ประเภท
ปี 2560 ปี ๒๕๖๑ ปี ๒๕๖๒
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร 2,512,258 ๒,๒๔๗,๙๕๙ ๑,๘๖๗,๕๙๑
จำนวน ๓๖ แห่ง
เฉลี่ยรายเดือน/ห้องสมุด 1 แห่ง 5,815 ครั้ง 5,203 ครั้ง 4,323 ครั้ง
อัตราเฉลี่ยต่อประชากรใน กทม. (คิด 0.058๔% 0.0520% 0.0432%
จากตัวเลข 10 ล้านคน)
6. วัตถุประสงค์
การดำเนินโครงการห้องสมุดสำหรับทุกคน LIBRARY 4.0 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อให้
เป็นไป ตามกรอบแนวทาง และแก้ไขปัญหาจากการศึกษา ดังนี้ 6.1 เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการ
ใช้บริการห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ของกรุงเทพมหานคร 6.2 เพื่อให้มีแพลตฟอร์มห้องสมุดออนไลน์
ของกรุงเทพมหานคร 6.๓ เพื่อยกระดับมาตรฐานห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานครให้มี
ความทันสมัย