Page 134 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 134
122
2.๒.๑.๑ กลุ่มผู้ใช้บริการรถโดยสาร Shuttle Bus ของกรุงเทพมหานคร
สาย B3 ชุมชน เคหะร่มเกล้า – ARL สถานีลาดกระบัง เนื่องเป็นเส้นทางที่มีจำนวนประชากรอยู่
อาศัยหนาแน่นมาก และเป็น พื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับศูนย์ชุมชนมีนบุรี
ภาพ 4.11 เส้นทางรถโดยสาร Shuttle Bus สาย B3
จากการลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 คน พบว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายร้อยละ
๕๒ และผู้หญิงร้อย ๔๘ ซึ่งสรุปได้ว่าการใช้รถ Shuttle Bus เป็นที่นิยมของทุกเพศ โดยมีอายุในช่วง
๓๑ - ๕๐ ปี และ เป็นผู้มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีถึง ร้อยละ ๔๕ รองลงมา คุณวุฒิปริญญาตรี
ร้อยละ ๓๑ และโดยส่วนใหญ่มี อาชีพรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ รองลงมา พนักงานบริษัท
ร้อยละ ๑๔ ซึ่งเป็นผู้ที่มีรายได้แน่นอน ร้อยละ ๗๙ และรายได้ไม่แน่นอน ร้อยละ ๒๑ ผู้ใช้บริการ
ดังกล่าวมีเงินเดือนในช่วง 20,000 - ๓0,000 บาท คิดเป็น ร้อยละ ๓๑ รองลงมา ๓๐,๐๐๐ –
๔๐,๐๐๐ บาท ความถี่การใช้บริการ นานครั้ง (เดือน ๒-๓ ครั้ง คิดเป็น ร้อยละ ๓๘ รองลงมา ใช้
บริการบ่อยมาก แทบทุกวัน ร้อยละ ๓๑ และเป็นครั้งคราว (สัปดาห์ละ ๒-๓ ครั้ง) ร้อยละ ๒๘ จะ
เห็นว่าประชาชนนิยมใช้บริการค่อนข้างมาก เวลาในการรอคอยรถประมาณ ๑๐ นาที คิดเป็นร้อยละ
๓๑ และ ๑๕ นาที คิดเป็นร้อยละ ๒๘ ผู้โดยสารโดยสารส่วนใหญ่จะเดินมาขึ้นรถเองที่ป้ายจอด
่
เนื่องจากเส้นทางคอนข้าง เหมาะสม รองลงมา นั่งมอเตอร์ไซต์ คิดเป็นร้อยละ ๓๑ เมื่อสอบถามถึง
ความสะดวกในการให้บริการประชาชน ตอบว่าให้ความสะดวกมาก คิดเป็นร้อยละ ๔๕ รองลงมา
ค่อนข้างสะดวกร้อยละ ๓๔ ซึ่งแสดงถึงความพอใจ ในการได้รับบริการ เสียงสะท้อนที่ได้รับ คือไม่
อยากให้กรุงเทพมหานครหยุดให้บริการ หากจำเป็นต้องเสีย ค่าใช้จ่ายก็ยอมรับได้ ในช่วงราคา ๑๕ -
๒๐ บาท ความรู้สึกของผู้รับบริการ มีความรู้สึกมีความรู้สึกปลอดภัยดี ร้อยละ ๔๘ และค่อนข้าง