Page 175 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 175
163
5.2.3 ข้าราชการกรุงเทพมหานครสังกัดสำนักงานตรวจสอบภายในในฐานะผู้
ตรวจสอบภายใน เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม และการเตรียม
ความพร้อมสำหรับการ ปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ โดยมีการสร้างความรู้ความเข้าใจ ดังนี้
1) ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน สังกัด
สำนักงาน ตรวจสอบภายใน
2) ประเมินความพร้อมของผู้ตรวจสอบภายใน
3) พัฒนาสมรรถนะ (Competency) ของผู้ตรวจสอบภายในตามผลการประเมิน
4) แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาสำหรับงานตรวจสอบภายใน
5) กำหนดหน่วยงานสังกัดกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องและขอบเขตความร่วมมือ
5.2.4 ภาคส่วนอื่นที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น หน่วยงานภาครัฐ
รัฐวิสาหกิจ และเอกชน โดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการตรวจสอบแบบมี
ส่วนร่วม และการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ เช่น การจัดประชุม
ชี้แจง การออกหนังสือ ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ
5.3 การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบภายในให้สอดคล้องกับการให้ประชาชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการตรวจสอบ ดังนี้
5.3.1 การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำมากำหนดเรื่อง/ประเด็นที่
น่าสนใจ เพื่อให้ ประชาชนคัดเลือกไปตรวจสอบ โดยการออกแบบกระบวนการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ประเด็นยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์ และโครงการต่าง ๆ ของหน่วยงาน
ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี ที่ผู้บริหารกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญในแต่ละปี รวมทั้งผล
การดำเนินจริงหรือความคืบหน้าในการดำเนินการ ตามแผนต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์
เรื่องร้องเรียนของประชาชนจากระบบเรื่องราวร้องทุกข์ 1555 และระบบเรื่องราวร้องทุกข์ของ
สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการวิเคราะห์ประเด็นที่ เกี่ยวข้องกับการ
ื่
ทำงานของกรุงเทพมหานครตามสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ที่มีผลกระทบในวงกว้างต่อประชาชน เพอ
นำมาวิเคราะห์กำหนดเป็นเรื่อง/ประเด็นที่เสนอให้ประชาชนเลือกตรวจสอบผ่านระบบสารสนเทศ
การ ตรวจสอบฯ ในแต่ละปี
5.3.2 การวางแผนกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยก่อนการ
เริ่มต้นการวางแผน การตรวจสอบประจำปี สำนักงานตรวจสอบภายในต้องประชาสัมพันธ์เปิดใช้งาน
ระบบสารสนเทศอย่างเป็น ทางการ โดยกำหนดช่วงระยะเวลาการเปิดและปิดระบบอย่างชัดเจน โดย
กำหนดระยะเวลาประมาณ 1 เดือนต่อปี เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา จะประมวลผลความต้องการของ
ประชาชนจากระบบฯ เพื่อจัดทำประเด็นหรือหัวข้อ จัดลำดับความสำคัญตามระดับความเสี่ยง
(พิจารณาทั้งโอกาสและผลกระทบ) วิเคราะห์ทรัพยากรการตรวจสอบที่ มีอยู่ เพื่อจัดทำแผนการ