Page 171 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 171
159
คู่มือดังกล่าวอธิบาย การจัดการและการดำเนินการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม ระบุอำนาจหน้าที่และ
ความรับผิดชอบของแต่กลุ่ม อย่างชัดเจน เพื่อลดความสับสนหรือความขัดแย้งในการดำเนินการ
ตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม
- กระบวนการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม
1. ระบุประเด็นในการตรวจสอบ
2. กำหนดลักษณะการปฏิบัติงานและขอบเขตการมีส่วนร่วนของภาคประชาชน
3. กำหนดตัวหุ้นส่วนการตรวจสอบ เพื่อทำหน้าที่ citizen auditor
4. จัดทำกำหนดการตรวจสอบร่วมกัน
5. ประเมินศักยภาพในการตรวจสอบของ citizen auditor
6. จัดทำแผนการตรวจสอบ
7. ปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบที่กำหนดไว้
8. รวบรวมข้อเท็จจริงและหลักฐานการตรวจสอบ เพื่อจัดทำรายงานผลการ
ตรวจสอบ และเผยแพร่ผลการตรวจสอบ
๙. ประเมินผลการปฏิบัติงานของทีมตรวจสอบ
10. ติดตามผลการตรวจสอบตามข้อ 8 ว่าหน่วยงานที่ได้รับข้อเสนอแนะให้
ปรับปรุง แก้ไข สามารถปรับปรุง แก้ไขหรือพัฒนางานได้หรือไม่ อย่างไร
- หลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกโครงการหรืองานสำหรับการตรวจสอบ หลักเกณฑ์
สำคัญในการคัดเลือก คือ ต้องเป็นงานหรือโครงการที่มีมูลค่าสูงและ ผลกระทบในระดับสูงต่อ
ประชาชน ดังนี้
1. ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนส่วนใหญ่
2. ใช้งบประมาณจำนวนมากในการดำเนินการและง่ายต่อการคอร์รัปชั่น
3. ส่งผลกระทบเชิงภูมิศาสตร์หรือประชากรศาสตร์
4. กิจกรรมหรือโครงการที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของ
ประชาชน
5. อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประชาชนได้
6. กิจกรรมหรือโครงการที่ประชาชนคาดหวังว่าจะยกระดับการดำเนินชีวิต
- ขอบเขตการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการตรวจสอบ ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมใน
ฐานะ “Citizen Auditor” โดยกำหนดขอบเขตในการตรวจสอบไว้ที่กิจกรรมที่ไม่ใช่ความสามารถเชิง
เทคนิคมาก เช่น การสำรวจข้อมูล การตรวจนับเบื้องต้น ยกเว้นว่า citizen auditor เป็นผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน เช่น วิศวกร นักบัญชี เป็นต้น
- เกณฑ์การเลือกประชาชนเข้ามาเป็น citizen auditor คือ ต้องไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้ง
ทางผลประโยชน์หรือประเด็นทางการเมือง เป็นผู้เสียภาษีอย่างถูกต้อง เป็นผู้ที่เสียสละเข้ามา
ปฏิบัติงานกับภาครัฐ โดยไม่ได้คาดหวังชื่อเสียงและสะดวกในการเข้าถึงพื้นที่ที่จะตรวจสอบ