Page 169 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 169
157
(Performance Audit) โดยใช้เกณฑ์ว่า “เรื่องที่ร้องขอต้องเป็น ประโยชน์สาธารณะ” และส่งผล
กระทบในวงกว้างเป็นหลัก
๒.4 แนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของประเทศอื่น
ื่
กลุ่มที่ 5 ได้สืบค้นแนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมในประเทศต่าง ๆ เพอ
ศึกษาทำความ เข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้เป็นตัวแบบในการออกแบบระบบการตรวจสอบแบบมีส่วน
ร่วมของกรุงเทพมหานคร สรุปได้ดังนี้
2.4.1 การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมในประเทศเกาหลี
(https://www.worldbank.org/en/topic/governance/brief/side-by-side-
with- people-koreas-experience-on-participatory-auditing)
Side by side with people: Korea's experience on participatory auditing
(เผยแพร่ เดือนมีนาคม 2558) สรุปว่า หน่วยงานตรวจสอบที่ชื่อว่า “The Board of Audit and
Inspection of Korea (BAI)” เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุม
ั
ระดับชาติ ได้สร้างความร่วมมือกับ ภาคประชาชนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 โดยขยายมิติความสัมพนธ์กับ
พลเมือง ตั้งแต่เรื่องการขอข้อมูล การปรึกษา จนถึงการสร้างหุ้นส่วนพลเมือง เพื่อการตัดสินใจ
เกี่ยวกับการดำเนินการต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชน
ต่อมาได้พัฒนาระบบการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม โดยประชาชนสามารถให้
คำแนะนำเกี่ยวกับ แนวทางการตรวจสอบและเปิดรับคำขอเกี่ยวกับการตรวจสอบต่าง ๆ จาก
ประชาชนอย่างเป็นทางการ รวมทั้ง รายงานการตรวจสอบให้ภาคประชาชนได้ทราบผ่านทางเว็บไซต์
โดย BAI ได้รับความคิดเห็นกว่า 200 รายการ ต่อปีจากประชาชนเกาหลี
การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของ BAI พัฒนามาจากแนวคิดดั้งเดิมเกี่ยวกับการตี
กลองเพื่อ ร้องเรียน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิร้องขอให้ตรวจสอบการดำเนินการของภาครัฐ
ได้ ภายใต้เงื่อนไขสำคัญ คือ ต้องเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)
ปราศจากประเด็นเรื่องการเมือง และกำหนดขอบเขตของการมีส่วนร่วมไว้ที่ขั้นตอนการรับคำขอมา
ประกอบการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและวาง แผนการตรวจสอบเท่านั้น สำหรับกระบวนการปฏิบัติงาน
ตรวจสอบภาคสนาม (On field work) ยังคงเป็นความรับผิดชอบของหน่วยงานตรวจสอบ ซึ่ง
้
ประชาชนอาจจะมีส่วนร่วมทางออม กรณีที่หน่วยงานตรวจสอบต้องการที่ ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ
ในเรื่องที่ตรวจสอบ
บทความดังกล่าวได้สรุปคุณค่าและประโยชน์ของการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมไว้
ดังนี้
1. กระตุ้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและพัฒนาประชาธิปไตย
2. ตอบสนองความต้องการของประชาชนและช่วยแก้ไขปัญหาหรือประเด็นความ
เดือดร้อน ความขับข้องใจของประชาชน
3. ปรับปรุงการบริหารงานของภาครัฐ