Page 165 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 165
153
๒๕๖๒ ไม่ใช่กิจกรรมหรือโครงการที่มีผลกระทบโดยตรงหรือผลกระทบ ในวงกว้างต่อประชาชนใน
พื้นที่กรุงเทพมหานคร (เอกสารหมายเลข ๑)
จากสภาพแวดล้อมระดับกรุงเทพมหานครที่ยุทธศาสตร์ด้านเมืองธรรมาภิบาล ในมหานคร
ประชาธิปไตย ไม่ค่อยมีความคืบหน้าและยังไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือการตรวจสอบที่
กรุงเทพมหานครมีอยู่แล้ว และ กระบวนการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัด
กรุงเทพมหานคร ที่ยังไม่ได้เปิดโอกาสให้กลุ่ม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของกรุงเทพมหานคร คือ
ประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการตรวจสอบ กลุ่มที่ ๕ จึงเสนอแนวคิด “การยกระดับการ
บริการของกรุงเทพมหานครด้วยการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาค ประชาชน” และจัดทำ
โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You)
ื่
ทั้งนี้ กลุ่มที่ ๕ ได้ศึกษาแนวทางการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากประเทศอื่น เพอ
ประกอบการเสนอแนว ทางการพัฒนาการพัฒนาการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมของกรุงเทพมหานคร
ด้วย
๒. วิธีวิเคราะห์และศึกษาสภาพปัญหา
กลุ่ม ๕ ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยรับตรวจ เกี่ยวกับการเปิดโอกาสให้
ประชาชนมีส่วนร่วมกับการตรวจสอบของกรุงเทพมหานคร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการ
เสนอโครงการ นอกจากนั้น ได้สอบทานสถิติและประเภทเรื่องร้องทุกข์ในระบบ ๑๕๕๕ โดยมี
รายละเอียด ดังนี้
๒.1 สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการ
ดำเนินงานของ กรุงเทพมหานครจากภาคประชาชน
ิ
เพื่อสำรวจความคดเห็นเบื้องต้นของตัวแทนภาคประชาชนเกี่ยวกับความต้องการใน
การมีส่วน ร่วมในระบบตรวจสอบของกรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ ๕ ได้จัดทำแบบสอบถามการมีส่วน
ร่วมของประชาชนในการ ตรวจสอบการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร ผ่าน Google form และ
กระจายไปยังภาคประชาชน ใช้วิธีการ เลือกตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Statistical
Sampling) และเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling) ระหว่างวันที่ ๖ -
๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ ได้รับข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน ๑๐๗ คน สรุปความคิดเห็นได้
ดังนี้