Page 160 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 160

148






                       คลังและงบประมาณ และมิติที่ ๗.๕  เทคโนโลยีสารสนเทศ  แต่ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มที่ 5 ของ
                       หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26 ได้พิจารณาแผนพัฒนา กรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐
                       ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) และสอบทานรายละเอียดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ “ประชาธิปไตย” และ

                       รายละเอียดแผนยุทธศาสตร์ของสำนักงานตรวจสอบภายใน  สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร   ซึ่งเป็น
                       หน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านการตรวจสอบของกรุงเทพมหานคร สรุปได้ ดังนี้

                              ระดับกรุงเทพมหานคร


                              1) มหานครประชาธิปไตย กรุงเทพมหานครต้องการพัฒนาให้เป็นเมืองประชาธิปไตยและมี
                       ธรรมาภิบาล เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์อย่างเข้มแข็ง โดยใน

                       แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕) กำหนดเป้าหมายในการ
                       พัฒนามหานครประชาธิปไตยไว้ ๕ มิติ โดยหนึ่งในนั้น คือ เมืองธรรมาภิบาล ซง่ึกำหนดเป้าหมายว่า

                       “ประชาชนกรุงเทพฯ มีส่วนร่วมในการเสนอนโยบาย และตรวจสอบการทำงานของกรุงเทพมหานคร
                       โดยการใช้ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม” ซึ่งในรายงานสรุปผล การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติ
                       ราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รอบครึ่งปีงบประมาณ (๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ - ๓๑ มีนาคม

                       ๒๕๖๓) สรุปผลการดำเนินงานเกี่ยวกับมิติที่ ๕.๒ เมืองธรรมาภิบาล ว่ายังไม่บรรลุเป้าหมาย
                       ยุทธศาสตร์ทั้งหมดกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้  เมื่อสอบทานรายละเอียดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด

                       ผลการ ดำเนินการ และโครงการ พบว่า กิจกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดเวทีให้ชุมชนเสนอ
                       แนวทางในการพัฒนาพื้นที่ เพื่อกำหนดนโยบายในการพัฒนาเขต และกำหนดตัวชี้วัดผลสำเร็จจาก
                       จำนวนร้อยละของชุมชนในพื้นที่ของ กรุงเทพมหานครที่จัดทำแผนพัฒนาชุมชน และจำนวนของ

                       สำนักงานเขตที่นำแผนพัฒนาชุมชนไปบรรจุไว้ใน แผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน สำหรับ
                                           ิ่
                       เป้าหมายเกี่ยวกับการเพมบทบาทของพลเมืองกรุงเทพฯ ในการ ขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองและการใช้
                       ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม ตัวชี้วัดผลสำเร็จของเรื่องดังกล่าวกำหนดไว้ เพียงการที่
                       กรุงเทพมหานครมีรายงานผลการศึกษาแนวทางการจัดทำงบประมาณตามแผนพัฒนาชุมชนระดับ

                       เขต และระดับกรุงเทพมหานคร ซึ่งผลการดำเนินทั้งหมด คือ ร้อยละ ๐ เมื่อเทียบกับเป้าหมาย
                       สำหรับอุปสรรคที่สำคัญ ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ คือ สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อ

                       ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  และ การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการใน
                       สถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งทำให้เกิดวิถีของการทำงานนอกสถาน ที่ตั้งหรือการทำงานที่บ้าน และการงด
                       กิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก

                              2) จากเป้าหมายการพัฒนามหานครประชาธิปไตยและผลความคืบหน้าในการดำเนินการ
                                                                                                        ื่
                       ดังกล่าว สะท้อน ให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่เขตเป็นหลัก เพอ
                       นำไปใช้ประกอบการวางแผน พัฒนาเขตและจัดทำงบประมาณ ซึ่งมีช่องโหว่หรือจุดอ่อนในการ
                       ดำเนินการ คือ ไม่ได้คำนึงถึงภาคประชาสังคมอื่น โดยไม่มีช่องทางที่จะรับฟังความคิดเห็นจาก

                       ประชาชนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ได้อาศัยในชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรุงเทพมหานคร ไม่ได้เสริมความเข้มแข็ง
                       ให้กับภาคประชาสังคมอื่น ๆ และไม่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนใน กลุ่มอื่น ๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมใน
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165