Page 158 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 158

146






                       (5) การวิเคราะห์ TOWS Matrix

                              ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ระบุอุปสรรคไว้ประเด็นหนึ่งว่า “กลุ่มผู้มี

                       ส่วนได้ส่วน เสียต่าง ๆ (Stakeholders) ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการตรวจสอบ” ด้วย
                                                                                             ุ
                       เหตุดังกล่าว สำนักงาน ตรวจสอบภายในจึงกำหนดให้มีมาตรการและตัวชี้วัดที่จะลดอปสรรคดังกล่าว
                       คือ “ร้อยละความสำเร็จของการนำ ข้อเสนอแนะจากระบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหาร

                       เจ้าหน้าที่ของหน่วยรับตรวจ และหรือประชาชนผู้มีส่วน ได้ส่วนเสียต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำมา
                       ดำเนินการ” (เป้าหมาย คือ ร้อยละ ๘๐) แต่เมื่อสอบทานลงไปถึง รายละเอียดกิจกรรมสนับสนุน

                       ตัวชี้วัด คือ กิจกรรมการรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กลุ่มต่าง ๆ และ
                       นำมาพัฒนาหรือปรับปรุงงานตรวจสอบภายใน พบว่า เป็นการสำรวจความคิดเห็นของหน่วยรับ
                       ตรวจภายหลังการปฏิบัติงานตรวจสอบของทีมตรวจสอบ (Post-Audit Questionnaire) เพื่อนำมา

                       ปรับปรุง กระบวนการปฏิบัติงานตรวจสอบหรือการดำเนินการของกรุงเทพมหานครเท่านั้น
                              จากข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว กลุ่มที่ 5 ของหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลางรุ่นที่ 26 จึง

                                                                                    ั
                       วิเคราะห์ TOWS Matrix และเลือกกลยุทธ์การต้ังรับ โดยใช้จุดแข็งจัดการกบอุปสรรค สร้างเครือข่าย
                       และพันธมิตร  (ST Strategy)  โดยจับคู่จุดแข็งและอุปสรรค ดังนี้

                              S.3 สำนักงานตรวจสอบภายในมีเป้าหมายชัดเจนที่จะพัฒนาการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม
                       มาตรฐานสากล ของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้

                       ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง
                              S.4 สำนักงานตรวจสอบภายในจัดโครงสร้างองค์กร ด้วยการแบ่งกลุ่มงานตรวจสอบตามกลุ่ม
                       ภารกิจของ หน่วยรับตรวจ จึงทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการปฏิบัติงานตรวจสอบ และมี

                       กลุ่มงานที่ทำหน้าที่ในการ พัฒนางานตรวจสอบภายในเป็นการเฉพาะ
                              T.๓ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ (Stakeholders) ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวาง

                       แผนการตรวจสอบ
                              5.2 ทิศทางการดำเนินงานของสำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร

                        (1) วิสัยทัศน์ (Vision)

                                                     ิ
                                      ิ
                                                           ่
                                                                         ้
                                                                      ้
                                                                ่
                                  ่
                                                                                         ื
                                 สงเสรมธรรมาภิบาล บรหารอยางโปรงใส สรางผูตรวจสอบภายในมออาชีพ

                       (2) พันธกิจ (Mission)
                              ๑) นำมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพการตรวจสอบภายในของสถาบันผู้ตรวจสอบ
                       ภายในสากล (The Institute of Internal Auditors: IIA) มาใช้เป็นกรอบในการปฏิบัติงาน
                              ๒) พัฒนาบุคลากรด้านการตรวจสอบภายในให้มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในงานตรวจสอบ
                       มีความเป็นมืออาชีพ มีความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ และมีจริยธรรมในระดับ

                       มาตรฐานสากล เป็นที่ยอมรับ
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163