Page 161 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 161

149






                       การตรวจสอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเครื่องมือหรือกลไกการตรวจสอบที่ กรุงเทพมหานครมีอยู่แล้วใน
                       ปัจจุบัน คือ การตรวจสอบภายใน (Internal Auditing) และการตรวจราชการ (Inspection)
                              3) กรุงเทพมหานครไม่ได้กำหนดกลยุทธ์เกี่ยวกับการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม

                       (Participative Audit) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมในกลไกการตรวจสอบภายใน ไว้ในมิติ
                       “เมืองธรรมาภิบาล” มหานคร ประชาธิปไตย

                              ระดับสำนักงานตรวจสอบภายใน

                              สำนักงานตรวจสอบภายในกำหนดวิสัยทัศน์ คือ “ส่งเสริมธรรมาภิบาล บริหารอย่างโปร่งใส
                       สร้าง ผู้ตรวจสอบภายในมืออาชีพ” ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างธรรมาภิบาลและทำให้เกิดการ

                       บริหารงานที่โปร่งใส คือ การเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้มีส่วน
                       ได้ส่วนเสียที่สำคัญที่สุดของ กรุงเทพมหานครได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการบริหารราชการ

                       หรือการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ในพันธกิจไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกัน
                       เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางที่จะส่งเสริมให้เกิดการมีส่วน ร่วมของภาคประชาชนหรือภาคประชา

                       สังคมในการปฏิบัติงานตรวจสอบ
                              ดังนั้น ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มที่ 5 ของหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26 จึง
                       พิจารณาว่า สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร ควรกำหนดเป้าหมายสำคัญใน

                       การดำเนินงานตาม แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๗๕) เพิ่มเติมใน
                       ด้านที่ 5 มหานคร ประชาธิปไตย มิติที่ 5.2 เมืองธรรมาภิบาล โดยให้บรรจุกลยุทธ์เกี่ยวกับการสร้าง

                       ระบบการตรวจสอบแบบมีส่วน ร่วม “การยกระดับการบริการของกรุงเทพมหานครด้วยการ
                       ตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน” ไว้ในมิติ เมืองมหานคร มหานครประชาธิปไตย โดยมี

                       โครงการเสริมสร้างธรรมาภิบาลผ่านเสียงประชาชนกรุงเทพมหานคร (We Hear You) เป็นโครงการ
                       สนับสนุน

                              (5) กลยุทธ์
                              ผู้เข้ารับการอบรมกลุ่มที่ 5 ของหลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26 ได้
                                                                                            ั
                       วิเคราะห์วิเคราะห์ TOWS Matrix และเลือกกลยุทธ์การตั้งรับ โดยใช้จุดแข็งจัดการกบอุปสรรค สร้าง
                       เครือข่ายและพันธมิตร  (ST Strategy)  โดยจับคู่จุดแข็งและอุปสรรค ดังนี้
                              S.3 สำนักงานตรวจสอบภายในมีเป้าหมายชัดเจนที่จะพัฒนาการปฏิบัติงานให้เป็นไปตาม

                       มาตรฐานสากล ของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้
                       ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง

                              S.4 สำนักงานตรวจสอบภายในจัดโครงสร้างองค์กร ด้วยการแบ่งกลุ่มงานตรวจสอบตามกลุ่ม
                       ภารกิจของ หน่วยรับตรวจ จึงทำให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการปฏิบัติงานตรวจสอบ และมี

                       กลุ่มงานที่ทำหน้าที่ในการ พัฒนางานตรวจสอบภายในเป็นการเฉพาะ
                              T.๓ กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ (Stakeholders) ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวาง
                       แผนการตรวจสอบ
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166