Page 164 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 164

152






                       เมืองและการใช้ระบบงบประมาณแบบมีส่วนร่วม กำหนดไว้ว่ากรุงเทพมหานครจะจัดทำมีรายงานผล
                       การศึกษาแนวทางการจัดทำงบประมาณตามแผนพัฒนาชุมชน ระดับเขตและระดับกรุงเทพมหานคร
                       ซึ่งผลการดำเนินทั้งหมด คือ ร้อยละ ๐ เมื่อเทียบกับเป้าหมาย ซึ่งอุปสรรค สำคัญในการดำเนินการ

                       คือ สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และการ ประกาศใช้พระ
                       ราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่นำมาสู่มาตรการการทำงานที่บ้านและการงด

                       กิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก
                              จากเป้าหมายในการพัฒนามหานครประชาธิปไตยและความคืบหน้าในการดำเนินการ

                                                                                                        ื่
                       สะท้อนให้เห็นว่า กรุงเทพมหานครมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาพื้นที่เขตก่อน เพอ
                       นำไปใช้ประกอบการวางแผน พัฒนาเขตและจัดทำงบประมาณ ซึ่งอาจจะมีช่องโหว่ในการดำเนินการ

                       คือ ยังไม่ได้คำนึงถึงภาคประชาชนอื่น     โดยยังไม่มีช่องทางรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่ไม่ได้
                       อาศัยในชุมชนที่ขึ้นทะเบียนกับกรุงเทพมหานครและยังไม่ได้เสริมความเข้มแข็งและเปิดโอกาสให้
                       ประชาชนได้มีส่วนร่วมกับเครื่องมือในการตรวจสอบที่ กรุงเทพมหานครมีอยู่แล้ว ได้แก่ ภารกิจ

                       ตรวจสอบภายใน (Internal Audit) และภารกิจการตรวจราชการ (Inspection)
                              สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักปลัดกรุงเทพมหานครรับผิดชอบภารกิจการตรวจสอบ

                       ภายในและ ประยุกต์ใช้กรอบมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในของ The
                       Institute of Internal Auditors : IIA ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำหนดนิยามการตรวจสอบภายในไว้

                                                                                                      ิ
                       ว่า “การตรวจสอบภายใน คือ การให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและเป็นอสระ
                       เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงาน ขององค์กร การตรวจสอบภายในช่วยให้องค์กรบรรลุ

                       วัตถุประสงค์ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของ กระบวนการบริหารความเสี่ยง การ
                       ควบคุมและการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบและเป็นระเบียบ
                              คุณค่าของงานตรวจสอบภายในต้องประเมินจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียว่า การปฏิบัติงาน

                       ตรวจสอบ ภายในตอบสนองความต้องการหรือความคาดหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่
                       อย่างไร ซึ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียสำคัญของหน่วยงานภาครัฐ คือ ประชาชน ดังนั้น ภารกิจ

                       ตรวจสอบภายในของหน่วยงานภาครัฐจะมี คุณค่าก็ต่อเมื่อรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน
                       อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในของ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วน
                       เสียต่าง ๆ (Stakeholders) ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการตรวจสอบ

                              สำหรับประเภทการตรวจสอบที่สร้างประโยชน์กับประชาชนมากที่สุด คือ การตรวจสอบการ
                       ดำเนินงาน (Performance Audit) ซึ่งเป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

                       ความคุ้มค่าของการ ดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อสอบทานผลการปฏิบัติงานของ
                       สำนักงานตรวจสอบภายใน ย้อนหลัง   ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๒) พบว่า ผลการตรวจสอบการ

                       ดำเนินงาน/โครงการ (Performance Audit) มีแนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่องและเมื่อสอบทาน
                       รายละเอียดผลงาน พบว่ากิจกรรมหรือโครงการส่วนใหญ่ที่ได้รับการ ตรวจสอบในปีงบประมาณ พ.ศ.
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169