Page 167 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 167
155
เพื่อสำรวจความคิดเห็นเบื้องต้นเกี่ยวกับความพร้อม ความกังวลและข้อเสนอแนะ
อื่น ๆ จาก ตัวแทนข้าราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
กับการดำเนินการในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ ๕ ได้จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นจากหน่วย
รับตรวจเกี่ยวกับการตรวจสอบแบบมี ส่วนร่วมจากภาคประชาชน ผ่าน Google form และกระจาย
ไปยังข้าราชการของหน่วยงานต่าง ๆ สังกัด กรุงเทพมหานครและบุคลากรในหน่วยงานอื่นที่มีความ
เกี่ยวข้องในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการเลือกตัวอย่าง โดยไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-
Statistical Sampling) และเลือกตัวอย่างแบบตามความสะดวก (Convenience Sampling)
ระหว่างวันที่ ๖ - ๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ ได้รับข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น จำนวน ๗๕ คน โดย
ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ ๙๖ เป็นข้าราชการในสังกัดกรุงเทพมหานคร และร้อยละ ๔ เป็น บุคลากร
ของหน่วยงานอื่นที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สรุปความคิดเห็นได้
ดังนี้
ผลการสำรวจ รวม
ที่ ประเด็นที่สำรวจ
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย (คน)
ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นหรือ 73 2 75
1 ข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับดำเนินงานโครงการต่าง ๆ (ร้อยละ (ร้อยละ
ของกรุงเทพมหานคร 97.3) 2.7)
ประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการ 70 5 75
2 ดำเนินงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานคร (ร้อยละ (ร้อยละ
93.3) 6.7)
การมีส่วนร่วมของประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินงาน 73 75
ของ กรุงเทพมหานคร จะช่วยพัฒนา 3
3 (ร้อยละ
กรุงเทพมหานครและส่งผลต่อ ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 96) (ร้อยละ 4)
ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการ 74 1 75
4 ดำเนินงาน ต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครจะส่งเสริม (ร้อยละ (ร้อยละ
ความโปร่งใสในการ ดำเนินการ 98.7) 1.3)
จากประเด็นการสำรวจข้างต้น พบว่า ข้าราชการและผู้ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่เห็นด้วยว่า
้
ิ
ประชาชน ควรมีส่วนร่วมในการแสดงความคดเห็นหรือขอเสนอแนะ การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
และการตรวจสอบ สำหรับการเลือกใช้ช่องทางการมีส่วนร่วม สำหรับประเด็นเกี่ยวกับความกังวลใจ
ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ ๖๔ ไม่มีความกังวลใจที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
การทำงาน