Page 168 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 168
156
ผู้ตอบแบบสอบถามคิดเห็นว่า การที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบมีข้อดี
ดังต่อไปนี้ ตามลำดับ (๑) เกิดความโปร่งใสในการทำงาน (๒) ตอบสนองความต้องการของประชาชน
ุ
ได้มากขึ้น และ (๓) ประชาชนได้รับบริการที่มีคณภาพมากขึ้น
โดยสรุป คือ ตัวแทนข้าราชการและบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการใน
พื้นที่ กรุงเทพมหานครส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการ
ดำเนินของ กรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่ไม่มีความกังวลใจ รวมทั้งมีความคิดเห็นว่าข้อดีของการมี
ส่วนร่วมในการตรวจสอบ จากประชาชน คือ เกิดความโปร่งใสในการทำงาน ตอบสนองความต้องการ
ของประชาชนได้มากขึ้นและประชาชน ได้รับบริการที่ดีขึ้น
๒.3 สอบทานสถิติเรื่องร้องเรียนช่องทาง ๑๕๕๕
กลุ่มที่ ๕ ได้สอบทานสถิติเรื่องร้องเรียนที่ผ่านช่องทาง ๑๕๕๕ เพื่อใช้ประกอบการ
พัฒนาระบบ การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วม โดยป้องกันความซ้ำซ้อนของขอบเขตการดำเนินการและ
พิจารณาถึงความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการประชาสัมพันธ์ระบบการตรวจสอบแบบมีส่วน
ื้
ร่วมผ่านช่องทาง ๑๕๕๕ รวมทั้งนำไปใช้ เป็นข้อมูลพนฐานในการประชาสัมพันธ์ Brand “We Hear
You” ให้เหมาะสมต่อไป
จากการสอบทานสถิติเรื่องร้องเรียนช่องทาง ๑๕๕๕ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
- ๒๕๖๒ ข้อมูลสรุปได้ ดังนี้
๒.3.๑ จำนวนเรื่องร้องเรียน
ตาราง 5.3 ข้อมูลสถิติการรับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560-2562
ปี จำนวนเรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างดำเนินการ
2560 75,117 73,421 1,696
2561 81,183 79,361 1,822
2562 77,330 74,050 3,280
2.3.2 ประเภทเรื่องร้องเรียน
ศูนย์เรื่องราวร้องทุกข์ แบ่งประเภทเรื่องร้องเรียนออกเป็น 23 ประเด็น เช่น เรื่องอาคาร
บาทวิถี ถนน ไฟฟ้า ช้าง การกระทำความผิดในที่สาธารณะ ความรุนแรงในครอบครัว เหตุเดือดร้อน
รำคาญ เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 2)
จากการสอบทานสถิติและประเภทเรื่องร้องทุกข์ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ก่อให้เกิดผลกระทบเฉพาะตัว ผู้ร้องหรือครอบครัวคนใกล้ชิดและต้องการการแก้ไขเร่งด่วนหรือ
เฉพาะหน้า ซึ่งแตกต่างกับแนวคิดการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบที่กลุ่ม ๕ เสนอ ซึ่งเป็นแนวทาง
ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนแสดง ความคิดเห็น เพื่อนำไปประกอบการวางแผนการตรวจสอบภายในของ
กรุงเทพมหานคร โดยรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำไปวางแผนการตรวจสอบการดำเนินการ