Page 170 - หลักสูตรนักบริหารมหานครระดับกลาง รุ่นที่ 26...
P. 170
158
อย่างไรก็ตาม ได้ระบุประเด็นความเสี่ยงเกี่ยวกับการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมไว้
ดังนี้
1. คำร้องขอบางประเด็น อาจจะเป็นผลประโยชน์ส่วนบุคคล สำหรับวิธีการจัดการ
คือ สื่อสาร และทำความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับนิยามของ “ผลประโยชน์สาธารณะ” และจัดให้มี
เครื่องมือและ คณะกรรมการทำหน้าที่วิเคราะห์และคัดเลือกคำร้องขอที่จะนำมาตรวจสอบ
2. อาจจะมีประเด็นทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นของ
ประชาชน สำหรับวิธีการจัดการ คือ เปิดโอกาสให้กลุ่มทางการเมืองได้แสดงความคิดเห็นให้รอบด้าน
เพื่อนำข้อมูลทั้งหมด มาใช้ประกอบการวิเคราะห์
3. การใช้ทรัพยากรการตรวจสอบอย่างไม่มีประสิทธิภาพ วิธีการจัดการ คือ
จัดลำดับ ความสำคัญของเรื่องที่ได้รับการร้องขอ ให้เหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่
2.4.1 การตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมในประเทศฟิลิปปินส์
(https://documents.worldbank.org/en/publication/documents-
reports/documentdetail/995101557837621617/citizen-participatory-audit-in-the-
philippinespilot-phase-i-2012-2014)
บทความเรื่อง Citizen Participatory Audit in the Philippines-Pilot Phase I
(2012 - 2014) อธิบายว่าหน่วยงานตรวจสอบของประเทศฟิลิปปินส์ที่ชื่อว่า “The Commission
on Audit (CAO)” และ The Supreme Audit Institution (SAI) เป็นผู้ดำเนนิการการตรวจสอบ
แบบมีส่วนร่วม โดยสร้าง ยุทธศาสตร์ให้ประชาชนใช้สิทธิของตน เพื่อตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ
และเพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งบประมาณ เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยพัฒนาบนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า การมี
ส่วนร่วมของพลเมืองและความรับผิดชอบสาธารณะ จะช่วยเสริมสร้างความโปร่งใสและประสิทธิผล
ของการดำเนินการภาครัฐ โดยใช้วิธีการตรวจสอบร่วมกับประชาชน ในฐานะสมาชิกของทีมตรวจสอบ
COA ผ่านกลไกการเป็นหุ้นส่วนกับภาคประชาชน เพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ในการตรวจสอบ รวม
เน้นให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทในการตรวจสอบพื้นที่ของตนเอง โดยทำงานเป็นหุ้นส่วน กับ COA
COA เริ่มต้นดำเนินการตรวจสอบแบบมีส่วนร่วมในเดือนพฤศจิกายน 2555
ภายในสมมติฐาน ที่ว่าความรับผิดชอบต่อสาธารณะจะเกิดขึ้นได้ เมื่อพลเมืองมีความตื่นตัวและมี
ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ โดยกำหนดเป้าหมายในการดำเนินการหลักไว้ดังนี้
1. เสริมสร้างความรู้ให้กับพลเมืองเกี่ยวกับการตรวจสอบของรัฐบาลผ่านประสบการณ์จริง
และ ปฏิบัติจริง
2. พลเมืองสามารถแสดงความรับผิดชอบต่อสาธารณะได้อย่างเหมาะสม
3. หน่วยงานภาครัฐมีความรับผิดชอบและโปร่งใสมากขึ้น
COA จัดทำคู่มือ “Operational Guideline for the Citizen Participatory Audit
Project” เพื่อให้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับภาคประชาขนและหน่วยงานตรวจสอบที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง