Page 12 - คู่มือการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
P. 12
๗
หมวด ๒ : การพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
๒.๑ ประเภทคดีที่สามารถใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ประเภทคดีที่สามารถใช้กระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ คดีแพ่งทุกประเภท
รวมถึงคดีแพ่งในศาลช านัญพิเศษ คดีผู้บริโภค และคดีที่มีกฎหมายก าหนดให้น าประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งไปใช้บังคับ ทั้งนี้ การใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้บังคับแก่
๑๖
การพิจารณาโดยไม่เปิดเผยตามมาตรา ๓๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
๑๗
๒.๒ ผู้มีสิทธิร้องขอพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้มีสิทธิร้องขอพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ โจทก์ จ าเลย ผู้ร้อง หรือผู้คัดค้าน แล้วแต่กรณี
คู่ความทุกฝ่ายในคดีสามารถร้องขอให้ใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของตนเองได้
๒.๓ การยื่นค าร้องขอพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
กรณีทนายความหรือคู่ความประสงค์ขอให้ศาลนั่งพิจารณาคดีตามประกาศส านักงานศาลยุติธรรม
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ สามารถยื่นค าร้อง
ในเวลาที่ยื่นค าคู่ความ หรือในระหว่างพิจารณา ตามช่องทาง ดังนี้
(๑) ยื่นค าร้องขอแบบปกติโดยตรงต่อศาล (เป็นกระดาษ)
(๒) ยื่นค าร้องขอผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS)
(๓) ยื่นค าร้องขอผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing System) เฉพาะคดีที่ยื่นค าฟองตั้งต้นคดี
้
ผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing System) เท่านั้น
(๔) ช่องทางอื่นตามแต่ประกาศของศาล
๑๖ ประกาศส านักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๕ “ให้ใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์กับคดีแพ่งทุกประเภทและคดีที่มีกฎหมาย
่
ก าหนดให้น าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไปใช้บังคับ โดยให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามทีก าหนด
ในประกาศนี้”
้
๑๗ ประกาศส านักงานศาลยุติธรรม เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการใชวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
ลงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ข้อ ๑๒ วรรคสอง “ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การพิจารณาโดยไม่เปิดเผยตามมาตรา ๓๖
แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง”