Page 9 - คู่มือการใช้วิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์
P. 9
๔
๙
แห่งความยุติธรรม กล่าวคือ คู่ความไม่จ าเป็นต้องยื่นค าขอภายในก าหนดระยะเวลาก็ได้ หากมีความจ าเป็น
และเพื่อประโยชน์ความยุติธรรม ศาลอาจอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้
๒) การด าเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือผิดหลง
การด าเนินกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ศาลอาจสั่งให้คู่ความที่ด าเนิน
กระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือผิดหลงท าการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่ศาล
๑๐
เห็นสมควรก าหนด เว้นแต่ข้อผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกล่าวเกิดจากความไม่สุจริตของคู่ความฝ่ายนั้น
โดยมีลักษณะที่ผ่อนคลายกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๗ กล่าวคือ ให้ดุลพินิจ
ที่กว้างขึ้นและไม่เคร่งครัดแก่ศาลในการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือผิดหลงที่เกิดขึ้น
ในกระบวนพิจารณาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ข้อผิดระเบียบหรือข้อผิดหลงในที่นี้
ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการด าเนินกระบวนพิจารณา
๓) สถานะความเป็นต้นฉบับของเอกสารที่ยื่นผ่านระบบรับส่งอิเล็กทรอนิกส์
ั
การน าเสนอหรือเก็บรักษาเอกสารในรูปแบบขอมูลอเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษนั้น จะได้รบ
้
ิ
การยอมรับทางกฎหมายว่าเป็น “ต้นฉบับ”ก็ต่อเมื่อผู้ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ขั้นต ่า
๒ ประการ คือ
๑) ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความ
ตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์ และ
๑๑
๒) สามารถแสดงข้อความในภายหลังได้
๙ ข้อก าหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
ข้อ ๖ “ระยะเวลาตามที่ก าหนดไว้ในข้อกาหนดนี้หรือตามที่ศาลก าหนด เมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความร้องขอ ศาลอาจมี
อ านาจย่นหรือขยายได้ตามความจ าเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม”
๑๐ ข้อก าหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
ข้อ ๕ “ศาลอาจสั่งให้คู่ความที่ด าเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบหรือผิดหลงท าการแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายในระยะเวลาและ
เงื่อนที่ศาลเห็นสมควรก าหนด เว้นแต่ข้อผิดระเบียบหรือผิดหลงดังกล่าวเกิดจากความไม่สุจริตของคู่ความฝ่ายนั้น”
๑๑ ข้อก าหนดของประธานศาลฎีกา ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๓
ข้อ ๑๗ “ในกรณีที่กฎหมายก าหนดให้น าเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้น าเสนอ
หรือเก็บรักษาในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการรักษาความถูกต้องของข้อความตั้งแต่การสร้างข้อความ
เสร็จสมบูรณ์ และสามารถแสดงข้อความนั้นในภายหลัง ให้ถือว่าได้มีการน าเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว”