Page 302 - 2553-2561
P. 302
ค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๕๙/๒๕๕๘ ศาลแขวงปทุมวัน
ศาลปกครองกลาง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓)
บัญญัติให้ศาลปกครองมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระท�าละเมิดหรือความรับผิดอย่างอื่น
ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อ�านาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ ค�าสั่งทาง
ปกครอง หรือค�าสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายก�าหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่
ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร อันเป็นการจ�ากัดประเภทคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระท�าละเมิดของหน่วยงานทาง
ปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองไว้เฉพาะการกระท�าอันเนื่อง
มาจากการใช้อ�านาจตามกฎหมาย จากกฎ หรือค�าสั่งทางปกครอง หรือค�าสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่
ตามที่กฎหมายก�าหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรเท่านั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า
คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดได้สอบสวนแล้วมีความเห็นว่า จ�าเลยกระท�าละเมิด
ต่อหน่วยงานโจทก์ แต่มิใช่การกระท�าละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้นความรับผิดทางละเมิดของจ�าเลย
ต่อโจทก์จึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังเช่นกรณีเอกชนกระท�าละเมิดต่อเอกชน
โดยมาตรา ๑๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ บัญญัติว่า
การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นการออก
ค�าสั่งเรียกให้จ�าเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในกรณีนี้จึงไม่ถือเป็นค�าสั่งทางปกครอง ตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ เมื่อจ�าเลยเพิกเฉย โจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานทาง
ปกครองที่ได้รับความเสียหาย จึงต้องฟ้องคดีต่อศาลที่มีอ�านาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดของเจ้าหน้าที่
นอกการปฏิบัติหน้าที่คือศาลยุติธรรม คดีนี้จึงอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
รวมย่อค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ
พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ 301