Page 304 - 2553-2561
P. 304
ค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่ ๖๖/๒๕๕๘ ศาลแพ่ง
ศาลปกครองกลาง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คดีที่เอกชนยื่นฟ้องเอกชนด้วยกันเป็นจ�าเลยที่ ๑ และหน่วยงานทางปกครองเป็นจ�าเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔
เป็นคดีผู้บริโภค ขอให้จ�าเลยทั้งสี่ร่วมกันคืนเงินที่โจทก์น�าไปฝากไว้กับจ�าเลยที่ ๑ และชดใช้ค่าเสียหายจาก
การกระท�าละเมิด ส�าหรับค�าฟ้องในข้อหาแรกเกี่ยวกับการผิดสัญญาฝากเงินทั้งสองศาลมีความเห็นตรงกันว่า
เป็นข้อพิพาททางแพ่งซึ่งอยู่ในอ�านาจของศาลยุติธรรมจึงยุติไปคงมีปัญหาเฉพาะในส่วนค�าฟ้องข้อหาที่สอง
เกี่ยวกับค่าเสียหายจากการกระท�าละเมิด เห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องอ้างว่ามีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ในฐานะผู้บริโภคในการที่จะได้รับข้อมูลตามค�าพรรณนา ที่ถูกต้องและเพียงพอในการเข้าท�าสัญญากับจ�าเลยที่ ๑
แต่จ�าเลยทั้งสี่ร่วมกันปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์เกี่ยวกับการด�าเนินงานสหกรณ์จ�าเลยที่ ๑
เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกและท�าให้โจทก์ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์
ถูกละเมิดสิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔ และมาตรา ๒๒ อันเกิดจากการ
กระท�าของจ�าเลยทั้งสี่ที่จงใจปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการด�าเนินงานที่ผิดพลาดของจ�าเลยที่ ๑ จึงมิใช่การ
บรรยายฟ้องโดยอ้างว่า ความเสียหายของโจทก์เกิดจากการที่จ�าเลยทั้งสี่ใช้อ�านาจตามกฎหมาย หรือออกกฎ
ออกค�าสั่งทางปกครองหรือค�าสั่งอื่น หรือละเลยต่อหน้าที่ตามที่มีกฎหมายก�าหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่
ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ อันจะมีลักษณะเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระท�าละเมิด
ของหน่วยงานทางปกครอง ตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา
คดีปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ดังนี้ แม้จ�าเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ จะเป็นหน่วยงานทางปกครอง แต่เมื่อข้อพิพาทตามค�าฟ้อง
ไม่มีลักษณะเป็นคดีปกครอง และโจทก์ฟ้องให้จ�าเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ ร่วมรับผิดกับ จ�าเลยที่ ๑ อย่างลูกหนี้ร่วมใน
มูลละเมิดเดียวกันและเกี่ยวพันกับข้อหาแรก โดยมีค�าขอให้จ�าเลยทั้งสี่ร่วมกันหรือแทนกันชดใช้เงินคืนหรือ
ค่าเสียหายในจ�านวนเดียวกันซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงสมควรให้ค�าฟ้องในข้อหาที่สองที่ฟ้องว่าจ�าเลยทั้งสี่
ร่วมกันกระท�าละเมิดต่อโจทก์หรือไม่นั้น ได้รับการพิจารณาพิพากษาโดยศาลยุติธรรมซึ่งเป็นศาลที่มีอ�านาจ
พิจารณาพิพากษาค�าฟ้องในข้อหาแรกด้วย คดีนี้จึงอยู่ในอ�านาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
รวมย่อค�าวินิจฉัยชี้ขาดอ�านาจหน้าที่ระหว่างศาลที่น่าสนใจ
พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๖๑ 303