Page 88 - คู่มือปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุตจริตฯ
P. 88
คู่มือการปฏิบัติงานศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
| 77
ข้อสังเกต
1. การยื่นค าแก้อุทธรณ์ของจ าเลย จ าเลยไม่ต้องมาแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล
หากเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ ให้มีค าสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยสั่งในอุทธรณ์ว่า
“อุทธรณ์ต้องห้ามเนื่องจาก..... จึงไม่รับอุทธรณ์”
ผู้อุทธรณ์มีสิทธิอุทธรณ์ค าสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ได้โดยท าเป็นค าร้อง เมื่อมี
การยื่นค าร้องอุทธรณ์ค าสั่งไม่รับอุทธรณ์ ให้สั่งในค าร้องว่า
“รับค าร้องอุทธรณ์ค าสั่ง ส าเนาให้อีกฝ่ายเพื่อทราบ รีบส่งค าร้องพร้อมส านวน
ไปศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบเพื่อมีค าสั่งโดยเร็ว”
2. การอุทธรณ์ค าพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตฯ ที่ยกฟ้องในชั้นตรวจฟ้อง
ศาลไม่จ าต้องส่งส าเนาให้จ าเลยเพื่อทราบ
๔.๒ จ าเลยอุทธรณ์
เจ้าพนักงานศาลมีหน้าที่ตรวจอุทธรณ์เบื้องต้น และเนื่องจากการยื่นอุทธรณ์ของ
จ าเลยซึ่งมิได้ถูกคุมขังต้องแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ด้วย ดังนั้น
เจ้าพนักงานศาลจึงต้องตรวจสอบว่าจ าเลยต้องแสดงตนตามกฎหมายหรือไม่
(1) จ าเลยไม่ถูกคุมขังยื่นอุทธรณ์
- จ าเลยแสดงตนพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์
ในกรณีจ าเลยซึ่งไม่ได้ถูกคุมขังยื่นอุทธรณ์และมาแสดงตน
ให้เจ้าพนักงานศาลถ่ายรูปและจัดเก็บลายพิมพ์นิ้วมือจ าเลยอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบ
เปรียบเทียบกับภาพถ่ายและลายพิมพ์นิ้วมือที่จัดเก็บไว้ในส านวนและฐานข้อมูลของศาลว่า
ถูกต้องตรงกันหรือไม่ แล้วท ารายงานเสนอต่อศาลเพื่อมีค าสั่ง (ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาฯ
ข้อ ๒๕ วรรคท้าย)
หากเป็นอุทธรณ์ที่ชอบ สั่งในอุทธรณ์ว่า
“จ าเลยซึ่งมิได้ถูกคุมขังยื่นอุทธรณ์พร้อมกับแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล
รับอุทธรณ์ ส าเนาให้อีกฝ่ายแก้”